สรุปเนื้อหาการจัดการความรู้
“เสวนาวิจัย Miniseries: Episode III” ครั้งที่ ๑
เรื่อง “กลุ่มอาการหลังผ่าตัดในผู้ที่ได้รับการผ่าตัดช่องท้อง”
Symptom Clusters in Persons Undergone Abdominal Surgery
วิทยากรโดย
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จุฬาลักษณ์ บารมี
วันอังคารที่ ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ เวลา ๑๓.๓๐ - ๑๕.๓๐ น.
ณ ห้องประชุมนพรัตน์ฯ ชั้น ๖ คณะพยาบาลศาสตร์
สรุปเนื้อหาที่ได้จากการเสวนา
ปัจจุบันการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดในช่องท้องพบได้บ่อย ซึ่งอาการหลังการผ่าตัดช่องท้องส่งผลให้ผู้ที่ได้รับการผ่าตัดทุกข์ทรมาน เกิดภาวะแทรกซ้อน การฟื้นสภาพล่าช้า ทั้งนี้ อาจเกิดจากช่วงระหว่างการผ่าตัด อาการของโรค หรืออาจเกิดจากผลของยาระงับความรู้สึก และอาการปวดต่างๆ ของโรค อาการที่เกิดจากการผ่าตัดในช่องท้องทำให้ผู้ป่วยไม่สุขสบายทั้งร่างกายและจิตใจ อาการต่างๆ ที่เกิดขึ้น ส่งผลให้การรับรู้ของบุคคลถึงการเปลี่ยนแปลงการทำหน้าที่ของร่างกาย และส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติหน้าที่ของบุคคล อาการหลังการผ่าตัดช่องท้องมีหลายอาการ ได้แก่ อาการปวด เหนื่อยล้า ท้องอืด วิตกกังวล นอนไม่หลับ และ คลื่นไส้อาเจียน อาการเหล่านี้อาจเกิดขึ้นพร้อมๆ กัน ไล่เลี่ยกัน หรือเกิดขึ้นบางอาการมากน้อยแตกต่างกันไปตามแต่ละบุคคล ตามแนวคิดเกี่ยวกับกลุ่มอาการ (Symptom Clusters) คือ อาการตั้งแต่ ๒ อาการหรือมากกว่าที่เกิดขึ้นร่วมกัน หรือมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน การจัดกลุ่มอาการจะช่วยให้พยาบาลจัดการกับอาการที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ
กลุ่มอาการที่เกิดขึ้นร่วมกัน หรือมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน อธิบายด้วยสาเหตุหรือกลไกที่ทำให้เกิดอาการร่วมกัน พร้อมๆ กัน ในเชิงวิเคราะห์ทางสถิติ เรียกว่า share variances มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน และมีความผันแปรของคะแนนที่เกิดขึ้นร่วมกัน การวิเคราะห์กลุ่มอาการ สามารถวิเคราะห์โดยการหาความสัมพันธ์ (correlation) แต่วิธีนี้มีข้อจำกัดคือหาได้แต่ละคู่เท่านั้น (bi-variate) กรณีที่จะหาองค์ประกอบหรือปัจจัยที่ทำเกิด มากกว่า ๒ ขึ้นไปจึงไม่เหมาะสม ดังนั้น การวิเคราะห์การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ที่มีมากกว่า ๒ อาการขึ้นไป วิธีที่เหมาะสมที่สุดและใช้กันบ่อย คือ การวิเคราะห์ปัจจัย (factor analysis)
ดังนั้น การวิจัยเพื่อจัดกลุ่มอาการนี้ (symptom cluster) จึงเลือกใช้สถิติการวิเคราะห์ปัจจัย (factor analysis) แบบ Principal Axis Factoring (PAF) เพื่ออธิบายว่าอาการที่เกิดร่วมกันหลายๆ อาการนั้น อยู่ในกลุ่มเดียวกันหรือไม่ และเพื่ออธิบายความสัมพันธ์ร่วมกันระหว่างอาการต่าง ๆ มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันอย่างไร และใช้การหมุนแกนด้วยวิธี direct oblimin เพื่อพิจารณาเกณฑ์ในการตัดสินถึงจำนวนด้านหรือองค์ประกอบที่ควรจะมีในกลุ่มอาการนั้น ๆ
การเผยแพร่ :
๑. แจกจ่ายเอกสารสรุปเนื้อหาการเสวนา ยังคณาจารย์ทุกท่านของคณะพยาบาลศาสตร์ และนิสิตที่เข้าร่วมเสวนาวิจัยฯ
๒. เผยแพร่สรุปเนื้อหาทาง เว็ปไซต์ http://nurse.buu.ac.th/BgKM/ การจัดการความรู้ของคณะพยาบาลศาสตร์
๓. สรุปผลการดำเนินกิจกรรมในแฟ้มการจัดการความรู้ ฝ่ายวิจัยฯ คณะพยาบาลศาสตร์ สามารถขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ฝ่ายวิจัยฯ ห้อง N๑๐๑ หรือ โทร. ๒๘๒๓
การเผยแพร่ :
๑. แจกจ่ายเอกสารสรุปเนื้อหาการเสวนา ยังคณาจารย์ทุกท่านของคณะพยาบาลศาสตร์ และนิสิตที่เข้าร่วมเสวนาวิจัยฯ
๒. เผยแพร่สรุปเนื้อหาทาง เว็ปไซต์ http://nurse.buu.ac.th/BgKM/ การจัดการความรู้ของคณะพยาบาลศาสตร์
๓. สรุปผลการดำเนินกิจกรรมในแฟ้มการจัดการความรู้ ฝ่ายวิจัยฯ คณะพยาบาลศาสตร์ สามารถขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ฝ่ายวิจัยฯ ห้อง N๑๐๑ หรือ โทร. ๒๘๒๓
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น