วันอังคารที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

สรุปประเด็นสำคัญในโครงการ “สัมมนาวิชาการ ประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๖”

สรุปประเด็นสำคัญในโครงการ “สัมมนาวิชาการ ประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๖”
ระหว่างวันที่ ๒๑-๒๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ เวลา ๐๘.๐๐-๑๖.๓๐ น.
ณ ห้อง N ๒๐๙ ชั้น ๒ อาคาร ผศ.นพรัตน์ ผลาพิบูลย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
๑.การประกันคุณภาพการศึกษา 
    ๑.๑ การประกันคุณภาพการศึกษาแบ่งออกเป็น 
        ๑) ประกันคุณภาพการศึกษาภายใน  โดยสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา  ประกอบด้วย ๙ องค์ประกอบ ๒๓ ตัวบ่งชี้ 
        ๒) ประกันคุณภาพการศึกษาภายนอก โดยสำนักรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา มุ่งเน้นการประเมินผลผลิต ผลลัพธ์ และผลกระทบ  ประกอบด้วย ๓ กลุ่มตัวบ่งชี้ คือกลุ่มตัวบ่งชี้พื้นฐาน  กลุ่มตัวบ่งชี้อัตลักษณ์ และกลุ่มตัวบ่งชี้มาตรการส่งเสริม รวม๑๘ ตัวบ่งชี้ 
           อัตลักษณ์ มหาวิทยาลัยบูรพา คือ บัณฑิตรักสุขภาพ 
              เอกลักษณ์ หมายถึง ความสำเร็จตามจุดเน้นและจุดเด่นที่สะท้อนให้เห็นเป็นลักษณะโดดเด่นเป็นหนึ่งของสถานศึกษา 
              เอกลักษณ์มหาวิทยาลัยบูรพา คือ เป็นแหล่งเรียนรู้ศาสตร์ทางทะเลของประชาคมอาเซียน 
              เกณฑ์การประเมินคุณภาพ ตามมาตรฐานของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)  สำนักงานรับรองมาตรฐานและการประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.)  และสภาการพยาบาล 
    ๑.๒ การเตรียมเพื่อการประกันคุณภาพการศึกษา ประเด็นสำคัญได้แก่ 
         ๑) อาจารย์ทุกคนควรจะมีภาระหลักให้ครบทั้ง ๔ ภาระกิจหลัก 
         ๒) แผนการสอนต้องมีครบทุกวิชา ทุกหัวข้อ 
         ๓) การบรรลุวัตถุประสงค์ผลการเรียนรู้ เรื่องคุณธรรมจริยธรรม เกี่ยวกับการตรงต่อเวลาของนิสิต  งานฝ่ายพัฒนานิสิต  จะนำไปดำเนินการเขียนโครงการพัฒนาความตรงต่อเวลาของนิสิต   

๒. การดำเนินงาน หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔ ฝ่ายวิชาการได้ดำเนินการดังนี้ 
     ๒.๑  ดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงานทั้งหมด ๒๑ เป็นตัวบ่งชี้ได้ดำเนินการไปตามเวลาที่กำหนด 
     ๒.๒  มีการกำหนดรายวิชาที่ใช้ภาษาอังกฤษในการสอน อย่างน้อยร้อยละ ๑๐
     ๒.๓ ตารางทวนสอบรายวิชาพยาบาล หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต โดยวิชาที่ต้องทวนสอบในปีการศึกษา ๒๕๕๖ มีรายละเอียดดังนี้ ปีการศึกษา ฤดูร้อน /๒๕๕๖ คือ รายวิชา ๑๐๗๓๑๕  ปฏิบัติการพยาบาลพื้นฐาน ปีการศึกษา ๑//๒๕๕๖ คือ รายวิชา ๑๐๑๒๐๑ การพยาบาลชุมชน ๑ รายวิชา ๑๐๗๒๐๙ พยาธิสรีรสำหรับการพยาบาล รายวิชา ๑๐๕๓๐๑ การพยาบาลผู้สูงอายุ รายวิชา ๑๐๖๓๐๒ การพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช๒ ปีการศึกษา ๒/ ๒๕๕๖ คือ รายวิชา ๑๐๔๓๐๑ การวิจัยและสารสนเทศทางการพยาบาล รายวิชา ๑๐๗๒๑๔ การพยาบาลพื้นฐาน ๒ รายวิชา ๑๐๕๓๐๒ ปฏิบัติการพยาบาลผู้สูงอายุ รายวิชา ๑๐๒๓๐๓ ปฏิบัติการพยาบาลมารดา-ทารกและการผดุงครรภ์๑
     ๒.๔ อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร และอาจารย์ประจำหลักสูตร บางคนลาออกและเกษียณอายุราชการ และ ลาศึกษาต่อปริญญาเอก  ดังนั้นจึงจำเป็นต้องหาอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรเพิ่มเติม 
     ๒.๕  ฝ่ายวิชาการอยู่ระหว่างการติดตาม รายงานผลการดำเนินของรายวิชา ตามแบบมคอ.๕ และ มคอ. ๖  ในภาคการศึกษา ๒ / ๒๕๕๔ ภาคการศึกษา ๑/ ๒๕๕๕ และ ภาคการศึกษา  ๒/๒๕๕๕ 
     ๒.๖ การจัดทำรายงานผลการดำเนินการของหลักสูตร ตามแบบ มคอ.๗  ของนิสิตรหัส ๕๔ ได้จัดทำเรียบร้อยแล้วของปี ๒๕๕๔ และอยู่ระหว่างการจัดทำ มคอ ๗ ของนิสิตรหัส ๕๔ และรหัส ๕๕ ของปีการศึกษา ๒๕๕๕ 
     ๒.๗ การทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ - ในปีการศึกษา ๒๕๕๔  ฝ่ายวิชาการได้ทำการทวนสอบวิชา ๑๐๗๒๐๑ การสร้างเสริมสุขภาพแบบองค์รวม และ ๑๐๗๑๐๙ แนวคิดพื้นฐานทางการพยาบาล -ในปีการศึกษา ๑/ ๒๕๕๕   ได้ทำการทวนสอบวิชา ๑๐๗๒๐๑ ทฤษฏีทางการพยาบาล   และ๑๐๖๒๐๑ การพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช 
     ๒.๘. ข้อเสนอแนะอื่นๆ จากที่ประชุม 
             ๑ ) เรื่องการเปิดภาคเรียนในปีการศึกษา ๒๕๕๗  ตามอาเซียน ซึ่งจะเปิดในเดือนสิงหาคมให้ฝ่ายวิชาการไปประสานงานกับฝ่ายวิชาการของมหาวิทยาลัย เพื่อสรุปวันที่เปิดเรียนที่ชัดเจน
             ๒) การจัดการเรียนการสอนเรื่องของความหลากหลายทางวัฒนธรรม  ให้แต่ละรายวิชาที่กำหนดไว้ควรกำหนดกิจกรรมให้เห็นชัดเจน 
             ๓) การจัดการเรียนการสอนในเรื่อง กระบวนการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ในรายวิชาต่างๆ นั้นมีข้อเสนอแนะดังนี้
                     - ในรายวิชาที่ขึ้นฝึกปฏิบัติให้นิสิตฝึกหัด ตั้งโจทย์สมมติฐานการวิจัย 
                     - กระตุ้นให้นิสิตคิดด้วยกระบวนการวิจัยและต้องมีหลักฐานที่ชัดเจน 
                     - เสนอแนะให้แต่ละชั้นปี  มีขั้นตอนการศึกษาค้นคว้ากระบวนการวิจัยที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อนมาก  โดยอาจจะให้นิสิตทำงานเป็นงานกลุ่ม 
            ๕) การสำเร็จการศึกษาของนิสิต ถ้านิสิต ได้เกรดในรายวิชาชีพ ต่ำกว่า C จะไม่สามารถจบการศึกษาของมหาวิทยาลัยตามหลักสูตร ถ้านิสิตได้เกรดต่ำกว่า C นิสิตต้องลงทะเบียนเรียนใหม่ 
            ๖) การจัดการเรียนการสอนในรายวิชาที่ต้องใช้ภาษาอังกฤษในการสอนอย่างน้อยร้อยละ 10เสนอแนะให้มีการจัดตั้งกลุ่มคณะกรรมการทำงาน เพื่อหาข้อสรุปในการจัดการเรียนการสอน และการพัฒนาอาจารย์ผู้สอน   

๓. การจัดระบบอาจารย์ที่ปรึกษาและผลการดำเนินงาน -             
    ๓.๑ การจัดอาจารย์ที่ปรึกษา ในปัจจุบันคณะฯ ได้จัดให้อาจารย์ รับผิดชอบดูแลนิสิตชั้นปีเดียวกัน  ประมาณ๑๒-๒๐ คน ต่อ อาจารย์ ๑ คน ควรมีการจัดกลุ่มนิสิตคละกัน เพื่อให้มีความหลากหลาย และอาจารย์สามารถทราบข้อมูลนิสิตด้วยระบบฐานข้อมูลของคณะฯ และของมหาวิทยาลัย ประเด็นสำคัญเกี่ยวกับอาจารย์ที่ปรึกษามีดังต่อไปนี้ 
             ๑) มีหน้าที่ดูแลเรื่องการลงทะเบียนของนิสิต 
             ๒) ควรจัดเวลาให้กับนิสิตที่ปรึกษา โดยใช้วันพฤหัสบดี ช่วงบ่ายซึ่งเป็นช่วงเวลาว่างของนิสิต 
            ๓)   ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาแก่นิสิต ในกรณีเรื่องการเรียนให้ประสานงานกับรองคณบดีฝ่ายวิชาการ  และในกรณีปัญหาการพฤติกรรมและอื่นๆให้ประสานงานกับรองคณบดีฝ่ายพัฒนานิสิต 
            ๔)   การประเมินอาจารย์ที่ปรึกษาโดยนิสิต  ให้จัดมีการประเมินปีละ 1 ครั้ง เพื่ออาจารย์ที่ปรึกษาจะได้รับข้อมูลการให้คำปรึกษา เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาต่อไป และให้นำไปประเมินในระบบมหาวิทยาลัยทางอินเตอร์เน็ต 
             ๕)   ข้อเสนอแนะอื่นๆ จากที่ประชุม 
                     -  การใช้ฐานข้อมูลเกี่ยวกับข้อมูลของนิสิต ควรมีความแตกต่างกันระหว่าง ระหว่างอาจารย์ที่ปรึกษา และอาจารย์ทั่วไป
                     -  การจัดระบบอาจารย์ที่ปรึกษา ควรเป็นนิสิตชั้นปีเดียวกัน เพราะนิสิตมีระบบการเรียนที่เหมือนกัน และทำให้สามารถดูแลนิสิตได้อย่างทั่วถึง 
                    -   การคิดอัตราส่วนของอาจารย์ที่ปรึกษา ควรนำมาจัดแบ่งสัดส่วนอาจารย์ที่ปรึกษามีความเหมาะสม  ทั้งอาจารย์ที่สอนปริญญาตรี โท และเอก 
                    -   ในกรณีที่นิสิตมีปัญหา เกินกว่าความสามารถของอาจารย์ที่ปรึกษา คณะฯ ควรมีการการแต่งตั้งคณะกรรมการที่มีความสามารถ ประกอบด้วย ตัวแทนของกลุ่มอาจารย์ที่มีความเชี่ยวชาญในปัญหานั้นๆของนิสิต รองคณบดีฝ่ายวิชาการ รองคณบดีฝ่ายพัฒนานิสิต และให้คณบดี เป็นประธาน   

 ๔. การทวนสอบและการบริหารจัดการระบบข้อมูลภายหลังทวนสอบ 
    ๔.๑ การทวนสอบรายวิชา ๑๐๗๒๑๐ ทฤษฎีทางการพยาบาล (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภาวนากีรติยุตวงศ์) อาจารย์ผู้สอนมีการดำเนินการดังนี้ 
            ๑) การวางแผนก่อนการจัดการเรียนการสอน โดยมีการประชุมอาจารย์ผู้สอนร่วมกัน เพื่อให้มีความเข้าใจตรงกัน เกี่ยวกับเรื่องวัตถุประสงค์ คำอธิบายรายวิชา และผลการเรียนรู้ 
            ๒) เขียนวัตถุประสงค์ของวิชาให้สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ของรายวิชา 
             ๓) กำหนดกิจกรรมการเรียนการสอน ตามมาตรฐานการเรียนรู้ 
             ๔) ออกแบบแบบประเมินผลการเรียนรู้ โดยให้ครอบคลุมตามมาตรฐานการเรียนรู้ 
    ๔.๒ การทวนสอบรายวิชา ๑๐๖๒๐๑ การพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช ๑ ( อาจารย์นุชนาถ แก้วมาตร) อาจารย์ผู้สอนมีการดำเนินการดังนี้ 
            ๑ ) ประชุมอาจารย์ผู้รับผิดชอบวิชา ชี้แจงการจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องของรายวิชา 
             ๒) กำหนดผู้สอนในหัวข้อของวิชา โดยเฉพาะผู้สอนเนื้อหาเป็นภาษาอังกฤษร้อยละ ๑๐ 
            ๓) เตรียมเอกสารที่สำคัญตั้งแต่เริ่มสอน เช่น มคอ.๓ เขียนกิจกรรมและวัตถุประสงค์ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ 
            ๔) เก็บรายงานและผลงานของนิสิตทุกคน เนื่องจากเพื่อป้องกันความลำเอียงจากการตรวจสอบ ผลการเรียนของนิสิต   ประเด็นปัญหา เก็บงานปริมาณมากเกิน ทำให้เป็นภาระสำหรับอาจารย์ 
        ข้อเสนอแนะจากที่ประชุม 
            ๑.   ให้เก็บงานทุกชิ้นของนิสิตไว้ร้อยละ ๕ ตามที่สุ่มได้ตั้งแต่ต้น ถ้าต้องการคืนงานให้แก่นิสิต อาจารย์สามารถถ่ายเอกสารไว้ โดยใช้งบประมาณจากฝ่ายวิชาการ 
             ๒.   ภายหลังการทวนสอบต้องเก็บงานทุกชิ้นของนิสิตเพียง ๑-๒  รายโดยสามารถถ่ายเอกสารจากฝ่ายวิชาการ 
             ๓.   การเก็บหลักฐานจะเก็บไว้ที่งานประกันคุณภาพเป็นระยะเวลา ๕  ปี   

๕.ประสบการณ์การจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในรายวิชาชีพพยาบาล 
    ๕.๑ รายวิชา ๑๐๖๒๐๑ การพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช ๑ (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร.ภรภัทร เฮงอุดมทรัพย์) รายวิชา ๑๐๖๒๐๑ การพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช 
            ๑ มีการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ ๑๐% ของรายวิชาดังนี้  การจัดทำแผนการสอน  การสอน และ การออกข้อสอบเป็นภาษาอังกฤษ ผู้สอนใช้เทคนิคในการจัดการเรียนการสอน ดังนี้ 
                - เริ่มต้นด้วยการเสริมสร้างความมั่นใจ ทั้งผู้สอนและผู้เรียนเกี่ยวกับการสอนภาษาอังกฤษ
                 - ผู้สอนมีการใช้สื่อต่างๆ  การให้กำลังใจและส่งเสริมให้นิสิตกล้าพูด
                 - ใช้บรรยากาศที่ผ่อนคลายให้โอกาส ให้กำลังใจ - ใช้ภาษาง่ายๆ และไม่มากจนเกินไป 
                 - จัดทำ Power point ภาษาอังกฤษ และเอกสารประกอบการสอนเป็นภาษาไทย 
    ๕.๒ รายวิชา๑๐๒๒๐๑การพยาบาลมารดา-ทารกและการผดุงครรภ์ ๑ (อ.ดร.วรรณทนา ศุภสีมานนท์) รายวิชา ๑๐๒๒๐๑ การพยาบาลมารดา
                -ทารกและการผดุงครรภ์ ๑มีการจัดการเรียนการสอน ภาษาอังกฤษ ๑๐% ของรายวิชาโดยเลือกสอนในหัวข้อที่ง่ายไม่ซับซ้อน ปฏิกิริยาของผู้เรียน คือ นิสิตไม่คุ้นเคยกับสำเนียงของผู้สอนและไม่เข้าใจในเนื้อหาที่สอนดังนั้นผู้สอนจึงมีการใช้เทคนิคต่าง ๆ การใช้ เพื่อให้บรรยากาศผ่อนคลายในการสอนดังนี้ 
                 -อาจารย์ผู้สอนปรับตัวโดยการไม่คาดหวังผู้เรียนมากจนเกินไป 
                 - การสอนโดยใช้ ๒ ภาษาควบคู่กันโดยใส่คำสำคัญ
                 - การใช้ภาพประกอบมากขึ้นเพื่อช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจ 
                  - การเริ่มต้นด้วยคำศัพท์ - นิสิตสามารถสอบถามเป็นภาษาไทยได้ หลังการจัดการเรียนการสอนพบว่า
                  - นิสิตมีทัศนคติต่อภาษาอังกฤษดีขึ้น 
                 -  นิสิตเสนอให้อาจารย์พยาบาลเป็นผู้สอนรายวิชา ภาษาอังกฤษสำหรับพยาบาล
    ๕.๓ รายวิชา ๑๐๗๑๐๑ การสร้างเสริมสุขภาพแบบองค์รวม ( ผู้ช่วยศาสตร์สุวรรณี มหากายนันท์) รายวิชา ๑๐๗๑๐๑ การสร้างเสริมสุขภาพแบบองค์รวมมีการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ ๑๐% ของรายวิชาโดยการมอบหมายงานให้นิสิตเป็นงานกลุ่มตั้งแต่ต้นเทอม สืบค้นบทความ งานวิจัยภาษาอังกฤษที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพในแต่ละบทเรียน มอบหมายให้นิสิตแปลและอภิปรายนำเสนอในชั้นเรียนเป็นภาษาอังกฤษ 
        ผลการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ 
                -การจัดกิจกรรมการเรียนในบางกลุ่มผู้เรียนค่อนข้างขาดทักษะทางด้านภาษา ผู้สอนต้องสรุปให้ค่อนข้างมาก บางกลุ่มจัดได้ค่อนข้างดีมีความสนุกสนาน และอภิปรายเป็นภาษาอังกฤษง่ายๆ
๕.๔ ข้อเสนอแนะจากที่ประชุม 
         ๑) วัตถุประสงค์การจัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษเพื่อ เพิ่มศักยภาพของนิสิตในด้านการใช้ภาษาอังกฤษพื้นฐานในระดับ เน้นทักษะการอ่าน การฟัง 
        ๒) ลักษณะและเวลาการจัดจัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษให้ครบร้อยละ ๑๐ ของจำนวนชั่วโมงของรายวิชา ทั้งนี้สามารถปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสมของแต่ละวิชา
        ๓)   คณะฯ ควรมีการเตรียมความพร้อมของอาจารย์ผู้สอน ในด้านทักษะและความสามารถทางภาษาอังกฤษข รวมทั้งมีการทดสอบความสามารถของผู้สอนว่ามีทักษะหรือความสามารถเพียงพอที่จะสอนภาษาอังกฤษ เช่น  BUU test  การจัดสรรงบประมาณเพื่อจัดซื้อ พจนานุกรมศัพท์ภาษาอาเซียน 
         ๔)   คณะฯ ควรมีการจัดกิจกรรมเสริมสร้างทักษะด้านภาษาอังกฤษสำหรับนิสิต เช่น จัดงานวั English Day  การทำกิจกรรมร่วมกับชาว Scandinavian ให้ทุนในการทำกิจกรรมเพื่อพัฒนาภาษาอังกฤษสำหรับนิสิต   

 ๖. การประเมินผลการเรียนรู้ของรายวิชาตามแผนที่กระจายความรับผิดชอบต่อผลการเรียนรู้จากหลักสูตรสู่รายวิชา (Curriculum Mapping) ของรายวิชา ( ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นฤมล ธีระรังสิกุล  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุวรรณี มหากายนันท์ และอาจารย์ตระกูลวงศ์ ฦาชา) 
        ๖.๑ การจัดการเรียนการสอนรายวิชา ๑๐๓๒๐๒ การพยาบาลผู้ใหญ่ ๒ของกลุ่มวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่โดยการสร้างตารางการกระจายการจัดกิจกรรมการเรียนในแต่ละบทเรียนทุกบทโดยละเอียดและมีการประเมินกิจกรรมต่างๆ โดยแบ่งสัดส่วนการให้คะแนนกระจายตามการประเมินผลการเรียนรู้ของรายวิชาตามแผนที่กระจายความรับผิดชอบต่อผลการเรียนรู้จากหลักสูตรโดยในรายวิชาทฤษฎีจะมี ต้องมีการจัดการเรียนการสอนคลอบคลุมทั้ง ๕ Domains 
         ๖.๒ การจัดการเรียนการสอนรายวิชา ๑๐๑๒๐๔ ปฏิบัติการพยาบาลชุมชน ๑ ของกลุ่มวิชาการพยาบาลชุมชนโดยมีการจัดทำแบบประเมินแต่ละกิจกรรมการเรียนรู้และแบ่งสัดส่วนคะแนนครอบคลุม ๖ Domainsทั้งนี้ กลุ่มวิชาการพยาบาลชุมชนได้พัฒนาระบบประเมินผลการเรียนรู้ Evaluation of Learning System ร่วมกับเจ้าหน้าที่คอมพิวเตอร์ของคณะพยาบาลศาสตร์ โดยอาจารย์สามารถเข้าสู่ระบบและกำหนดสัดส่วนคะแนนและประเมินผลการเรียนรู้ของนิสิตโดยระบบจะแสดงผลการประเมินผลการเรียนรู้ ครอบคลุมทุก Domain การเรียนรู้แบบเรียลไทม์ ซึ่งอยู่ในระหว่างการพัฒนาระบบ 

๗. การประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาคทฤษฎี 
    ๗.๑ การตัดเกรดในรายวิชาชีพ นิสิตต้องได้ต่ำกว่า C ถ้านิสิตได้เกรดต่ำกว่า C นิสิตต้องลงทะเบียนเรียนใหม่ 
    ๗.๒  การกำหนดน้ำหนักการประเมินในรายวิชาทฤษฎี การกำหนดน้ำหนักรายวิชาทฤษฎี  ๑๐๐ % ควรแบ่งน้ำหนักการประเมินดังนี้ 
            ๑) น้ำหนักคะแนนความรู้ (Core Knowledge)  (สอบกลางภาค สอบปลายภาค, สอบย่อย) ให้น้ำหนักคะแนนความรู้ไม่ต่ำกว่า ๖๐ หน่วยน้ำหนัก 
            ๒) น้ำหนักคะแนนการมีส่วนร่วม (การมีกิจกรรมในห้อง งานที่มอบหมายฯ งานกลุ่ม งานเดี่ยว)  ให้น้ำหนักคะแนนการมีส่วนร่วมไม่เกิน  ๔๐ หน่วยน้ำหนัก 
            ๓ )การกำหนดเกณฑ์สอบผ่านได้เกรด C ให้ ใช้ทั้งคะแนนสอบและคะแนนจากกิจกรรมรวมกันโดย 
                     - ให้คะแนนความรู้ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด คือ ร้อยละ ๕๐ กรณีที่นิสิตสอบไม่ผ่านร้อยละ ๕๐ ของการสอบแต่ละครั้ง ให้มีการสอบซ่อมได้ ๑ ครั้งของการสอบครั้งนั้นๆ (เช่น กรณีสอบ ๒ ครั้ง สอบซ่อม midterm ได้ ๑ ครั้ง  และสอบซ่อม final ได้ ๑ ครั้ง เป็นต้น)
                     - การตัดเกรดให้ใช้คะแนนรวมของคะแนนความรู้(คะแนนเดิม) และคะแนนการมีส่วนร่วม ต้องได้มากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ ๖๐ และ ซึ่งอาจใช้ทั้งอิงเกณฑ์และอิงกลุ่ม 
            ๔) รูปแบบของการซ่อม ขึ้นอยู่กับลักษณะและเนื้อหาของรายวิชา ที่แต่กลุ่มวิชาจะกำหนดตามความเหมาะสม อาจใช้ข้อสอบเดิม ข้อสอบคู่ขนาน  ข้อสอบอัตนัย การมอบหมายงานที่ตรงกับเนื้อหาที่นิสิตสอบไม่ผ่าน หรือสอบปากเปล่าเฉพาะประเด็นที่สำคัญฯ 

๘. ข้อเสนอแนะอื่น ๆ เกี่ยวกับการเรียนการสอน 
        -  กรณีที่นิสิตลาออก ฝ่ายวิชาการควรมีระบบการแจ้งให้ผู้ผู้สอนทราบด้วย 
        -  ฝ่ายวิชาการและฝ่ายกิจการนิสิต ควรจัดให้มีกิจกรรมพบนิสิต ๑-๒ กิจกรรม/ภาคการศึกษา 
        -  การเก็บเอกสารสำคัญของคณะฯ หรือข้อสอบ ควรใช้ระบบการ  Scan เอกสารเก็บไว้โดย 
        -  มอบหมายผู้รับผิดชอบโดยเฉพาะ สำหรับเอกสารสำคัญที่ต้องทำลายเสนอให้มีการกำจัดโดยเจ้าหน้าที่ห้องสำเนาข้อสอบโดยปิดห้องและห้ามนิสิตเข้า 

๙.การเตรียมอาจารย์ใหม่ มีแนวปฏิบัติดังนี้ ๙.๑ รายวิชาภาคทฤษฎี และ การปฏิบัติในห้องปฏิบัติการ
คุณสมบัติระยะเวลากิจกรรม
๑.  อาจารย์จบการศึกษาระดับปริญญาโท และมีประสบการณ์การสอนทางการพยาบาลมาแล้วอย่างน้อย ๑ ปี ในสถาบันการศึกษาที่สภาการพยาบาลรับรอง๑ ภาคการศึกษา๑. สังเกตการสอน   ๒. ร่วมสอนโดยมีอาจารย์พี่เลี้ยงดูแล ๓. เมื่อผ่านการประเมินสามารถ สอนได้ในภาคการศึกษาต่อไป
๒.  อาจารย์จบการศึกษาระดับปริญญาโท และมีประสบการณ์การสอนสาขาอื่น ๆ มาแล้วอย่างน้อย ๑ ปี๖ เดือน๑. สังเกตการสอน   ๒. ฝึกสอนในวิชาทางการพยาบาล โดยมีอาจารย์พี่เลี้ยงดูแลอย่างใกล้ชิด ๓. เมื่อผ่านการประเมินสามารถร่วมสอน/ สอนได้ในภาคการศึกษาถัดไป
๓. อาจารย์จบการศึกษาระดับปริญญาโท และไม่มีประสบการณ์การสอนทางการพยาบาล๑ ปี๑. สังเกตการสอน ๑ ภาคการศึกษา ๒. ฝึกสอนและร่วมสอนในวิชาทางการพยาบาลโดยมีอาจารย์พี่เลี้ยงดูแล อย่างใกล้ชิดในภาคศึกษาถัดไป๓. เมื่อผ่านการประเมินสามารถร่วมสอน/ สอนได้ในภาคการศึกษาถัดไป
๔.  อาจารย์จบการศึกษาระดับปริญญาเอก และมีประสบการณ์การสอนทางการพยาบาลมาแล้วอย่างน้อย ๑ ปี ในสถาบันการศึกษาที่สภาการพยาบาลรับรอง๑ ภาคการศึกษา๑. สังเกตการสอน   ๒. ร่วมสอนโดยมีอาจารย์พี่เลี้ยงดูแล ๓. เมื่อผ่านการประเมินสามารถ สอนได้ในภาคการศึกษาถัดไป
๕.  อาจารย์จบการศึกษาระดับปริญญาเอก และมีประสบการณ์การสอนสาขาอื่น ๆ มาแล้วอย่างน้อย ๑ ปี๑ ภาคการศึกษา๑. สังเกตการสอน   ๒. ฝึกสอนในวิชาทางการพยาบาล โดยมีอาจารย์พี่เลี้ยงดูแลอย่างใกล้ชิด ๓. เมื่อผ่านการประเมินสามารถร่วมสอน/ สอนได้ในภาคการศึกษาถัดไป
๖.  อาจารย์จบการศึกษาระดับปริญญาเอก และไม่มีประสบการณ์การสอนทางการพยาบาล2 ภาคการศึกษา๑. สังเกตการสอนใน ๑ ภาคการศึกษา   ๒. ฝึกสอนและร่วมสอนในวิชาทางการพยาบาลโดยมีอาจารย์พี่เลี้ยงดูแล อย่างใกล้ชิดในภาคการศึกษาถัดไป ๓. เมื่อผ่านการประเมินสามารถร่วมสอน/ สอนได้ในภาคการศึกษาถัดไป
หมายเหตุ  ทุกกรณีต้องมีการแต่งตั้งอาจารย์พี่เลี้ยงหลักจากคณบดี ตามช่วงระยะเวลาที่กำหนด
๙.๒ รายวิชาภาคปฏิบัติ
คุณสมบัติระยะเวลากิจกรรม
๑.  สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทหรือปริญญาเอกที่ไม่มีประสบการณ์ทางคลินิกในสาขาวิชาที่สอน หรือมีประสบการณ์ทางคลินิกน้อยกว่า ๑ ปี๑ ภาคการศึกษา๑. สังเกตการนิเทศ  ๒. ร่วมนิเทศโดยมีอาจารย์พี่เลี้ยงดูแล ๓. เมื่อผ่านการประเมินสามารถนิเทศในภาคการศึกษาถัดไป
๒. สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทหรือปริญญาเอกที่มีประสบการณ์ทางคลินิกในสาขาวิชาที่สอน มากกว่า ๑ ปี แต่ไม่มีประสบการณ์การสอนในคลินิกภายใน ๑ ภาคการศึกษา๑. สังเกตการนิเทศ อย่างน้อย ๑ กลุ่ม (ตามหน่วยกิตของรายวิชา)  ๒. ร่วมนิเทศโดยมีอาจารย์พี่เลี้ยงดูแล ๓. เมื่อผ่านการประเมินสามารถนิเทศในกลุ่มถัดไป
๓. สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทหรือปริญญาเอกที่มีประสบการณ์ทางคลินิกในสาขาวิชาที่สอนและประสบการณ์การสอนในคลินิก มากกว่า ๑ ปีภายใน ๑ ภาคการศึกษา๑. ร่วมนิเทศอย่างน้อย ๑ กลุ่ม โดยมีอาจารย์พี่เลี้ยงดูแล   ๒. เมื่อผ่านการประเมินสามารถนิเทศในกลุ่มถัดไป
หมายเหตุ  ทุกกรณีต้องมีการแต่งตั้งอาจารย์พี่เลี้ยงหลักจากคณบดี ตามช่วงระยะเวลาที่กำหนด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น