วันพุธที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2557

เทคนิคการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัยเพื่อขอรับ ทุนสนับสนุน

เทคนิคการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัยเพื่อขอรับ
ทุนสนับสนุน

ฝ่ายวิจัยฯ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ได้จัดโครงการเสวนาเพื่อการจัดการความรู้ เรื่อง “เทคนิคการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัยเพื่อขอรับทุนสนับสนุน” ผลการเสวนาได้ข้อสรุปเพื่อเป็นแนวปฏิบัติสำหรับคณาจารย์และนักวิจัย ดังนี้
     ๑.      มีการวางแผนการเตรียมความพร้อมการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย๒. ชื่อข้อเสนอโครงการวิจัยมีความน่าสนใจ ชัดเจน สอดคล้อง และตอบสนองต่อความจำเป็น หรือตอบสนองประเด็นยุทธศาสตร์ของชาติ (วช.)๓.     ควรเขียนโครงการวิจัยเพื่อขอรับทุนสนับสนุน ในรูปแบบชุดแผนงานวิจัย ที่มีโครงการวิจัยย่อย และเป็นโครงการต่อเนื่อง ตั้งแต่ ๒ ปีขึ้นไป
๔. โครงการวิจัยควรมีความร่วมมือระหว่างเครือข่ายหรือหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องแบบสหสาขาวิชาชีพ เช่น หน่วยงาน สถาบัน องค์กรวิชาชีพ โรงพยาบาล เทศบาล สำนักงานสาธารณสุข และชุมชน เป็นต้น๕. โครงการย่อยควรดำเนินการเป็นระยะ โดยเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชนและผู้ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่          ๑) การเตรียมการ          ๒) การสำรวจข้อมูลพื้นฐานที่เกี่ยวข้อง          ๓) การวิเคราะห์ประเด็นปัญหาจากฐานข้อมูลเบื้องต้น          ๔) การระดมสมองเพื่อหาแนวทาง/กิจกรรมการพัฒนาและแก้ไขประเด็นปัญหา          ๕) ดำเนินการพัฒนา/ปรับปรุง/แก้ไข          ๖) การวัดผลสำเร็จ และ          ๗) การเขียนรายงานและเผยแพร่ผลการวิจัย๖.      ทำการศึกษาวิจัยในเขตพื้นที่ที่ผู้วิจัยหรือทีมวิจัยมีความรู้ และเกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหา เช่น ในภาคตะวันออก เป็นต้น๗.      เขียนความสำคัญของปัญหาให้ชัดเจน มีความเชื่อมโยงเป็นเหตุเป็นผล สอดคล้องกับชื่อเรื่อง และวัตถุประสงค์การศึกษา๘.      มีขั้นตอน ระเบียบวิธีวิจัย และกระบวนการทำวิจัยที่ถูกต้อง กระชับ ชัดเจน และตอบวัตถุประสงค์การวิจัยครบถ้วน๙.      ระบุกลุ่มตัวอย่างที่เหมาะสมกับเรื่องที่ศึกษาและมีความเป็นไปได้ที่จะดำเนินการวิจัยได้แล้วเสร็จตามกำหนดเวลา๑๐.  การทบทวนวรรณกรรม ควรค้นคว้า ศึกษา รวบรวม ประมวลและสังเคราะห์ผลงานทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ทําวิจัย จากแหล่งข้อมูลอ้างอิงที่มีความน่าเชื่อถือ และเป็นแหล่งปฐมภูมิ๑๑.   ระบุเครื่องมือที่จะใช้ในการวิจัยให้ชัดเจน รวมทั้งที่มาและคุณภาพของเครื่องมือการวิจัย๑๒.   ระบุสถิติที่จะใช้ให้เหมาะสม และสอดคล้องวัตถุประสงค์/ คำถามการวิจัย
ควรมีนักวิจัยหน้าใหม่เป็นผู้ร่วมวิจัยด้วย เพื่อส่งเสริมการสร้างนักวิจัย๑๓.      ารนิยามศัพท์ ควรให้ความหมายคำเฉพาะที่ใช้ในการวิจัยให้ถูกต้อง เข้าใจ และมีความหมายตรงกัน๑๔.   ประโยชน์ที่จะได้รับจากการวิจัยควรเกิดผลกระทบทางบวกต่อสังคม ชุมชน และ/ หรือประเทศชาติในวงกว้าง รวมทั้งมีแผนการถ่ายทอดสู่กลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน



การเผยแพร่ :
๑.      แจกจ่ายเอกสารสรุปเนื้อหาการเสวนา ยังคณาจารย์ทุกท่านของคณะพยาบาลศาสตร์ และผู้บริหาร คณาจารย์ และนักวิจัย จากกลุ่มเครือข่ายวิทยาศาสตร์สุขภาพและเทคโนโลยี
๒.      เผยแพร่สรุปเนื้อหาทาง เว็ปไซต์ http://nurse.buu.ac.th/BgKM/ การจัดการความรู้ของคณะพยาบาลศาสตร์
สรุปผลการดำเนินกิจกรรมในแฟ้มการจัดการความรู้ ฝ่ายวิจัยฯ คณะพยาบาลศาสตร์ สามารถขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ฝ่ายวิจัยฯ ห้อง N๑๐๑ หรือ โทร. ๒๘๒๓

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น