วันพุธที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

แนวปฏิบัติการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ)


รายงานสรุปจาก โครงการสัมมนาบัณฑิตศึกษา ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๗
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
ณ ห้องประชุมดอกปีบ อาคารเฉลิมพระเกียรติฯ
วันพุธที่ ๗ และวันพฤหัสบดีที่ ๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๗
*****************

แนวปฏิบัติการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ)
ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๗

๑.  ด้านการเตรียมผู้เรียนก่อนการศึกษาในหลักสูตร
๑.๑  นิสิตมีทักษะการใช้คอมพิวเตอร์น้อย จึงควรเตรียมนิสิตด้านความสามารถในการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่จำเป็นเบื้องต้น
๑.๒  นิสิตมีปัญหาด้านการสื่อสารและการใช้ภาษา จึงควรจับคู่เพื่อนใกล้ชิดให้แก่นิสิตเพื่อให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
๒.  ด้านการรับนิสิตใหม่และการปฐมนิเทศ
          ๒.๑  จัดทำคู่มือการปฐมนิเทศเป็นภาษาอังกฤษที่มีสาระเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนและการใช้ชีวิตอย่างครบถ้วน
          ๒.๒  เพิ่มข้อบังคับต่างๆ ระเบียบปฏิบัติ และคู่มือการทำวิทยานิพนธ์ โดยจัดทำเป็นภาษาอังกฤษ
๓.  การดูแลนิสิตด้านความเป็นอยู่และชีวิตประจำวัน
          ๓.๑  จัดอาจารย์ที่ปรึกษาวิชาการแก่นิสิต เพื่อให้คำปรึกษาและช่วยเหลือด้านอารมณ์และความไม่สบายใจที่อาจจะเกิดขึ้นในช่วงแรกที่นิสิตเพิ่งจะเดินทางมาถึงประเทศไทย และการดูแลในช่วงต่อมา
          ๓.๒  จัดกิจกรรมสันทนาการหรือกิจกรรมแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมให้แก่นิสิตนานาชาติ เพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกันในด้านความแตกต่างทางวัฒนธรรม
          ๓.๓  จัดทำแนวทางปฏิบัติและเขียนแผนภูมิการรายงานของนิสิตต่างชาติที่มีความประสงค์จะเดินทางกลับบ้าน
๔.  ด้านการจัดการเรียนการสอน
          ๔.๑  ควรเตรียมผู้สอนให้มีความเข้าใจและเอื้ออาทรต่อนิสิต มีความอดทนต่อความแตกต่างระหว่างผู้เรียนและผู้สอน เข้าใจสภาพเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมของผู้เรียนในหลักสูตรฯ (คณะฯ ได้มีการเตรียมแนวทางการพัฒนาทักษะการสอนของอาจารย์ในหลักสูตรฯแล้ว)
          ๔.๒  ผู้สอนควรมีการประเมินนิสิตรายคนเป็นระยะๆ (Formative Evaluation) ซึ่งจะช่วยให้ทราบถึงสมรรถนะด้านการเรียนของนิสิตได้ดียิ่งขึ้น และสามารถให้ข้อมูลย้อนกลับแก่นิสิตได้ทันเวลา เพื่อพัฒนานิสิตอย่างต่อเนื่อง
๔.๓  กรณีที่นิสิตมีปัญหาในการเรียน ผู้สอนควรจัดห้องเรียนเสริม (Tutorial Class) แก่นิสิตเพื่อช่วยเหลือให้มีความเข้าใจในเนื้อหาสาระเพิ่มขึ้น
๔.๔  ผู้สอนควรมีความเข้าใจเรื่องรูปแบบการเรียนรู้ (Learning Styles) ของผู้เรียนแต่ละคน เพื่อจัดการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับความแตกต่างของผู้เรียน 
๕.  ด้านการช่วยเหลือสนับสนุนทางวิชาการ
          ๕.๑  จัดห้องทำงานให้แก่นิสิตในคณะฯ เพื่อให้นิสิตทำงานร่วมกันและแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็นต่อการเรียนการสอนร่วมกัน
          ๕.๒  จัดหาผู้ทำหน้าที่ตรวจความถูกต้องของการใช้ภาษา (Editor) แก่นิสิตต่างชาติ
          ๕.๓  จัดทำอภิธานศัพท์เฉพาะที่พบบ่อย และนิสิตมักใช้ผิดพลาด และแนะนำให้นิสิตซื้อ Technical Dictionary เพื่อการอ้างอิง
๖.  ด้านการจัดการหอพักนิสิต
          ๖.๑  ควรจัดห้องเตรียมอาหารในหอพัก เพื่อให้นิสิตมีโอกาสทำอาหารพื้นเมืองหรืออาหารที่ชื่นชอบ
          ๖.๒  ควรจัดห้องอ่านหนังสือ และ/หรือห้องทำงานในหอพัก เพื่อให้นิสิตได้ทำงานร่วมกัน หรือให้อาจารย์ใช้เป็นที่ให้คำปรึกษาแก่นิสิต
          ๖.๓  จัดระบบและแนวปฏิบัติการดูแลนิสิตเมื่อเจ็บป่วย
          ๖.๔  จัดสถานที่เพื่อประกอบพิธีทางศาสนาแก่นิสิตที่นับถือศาสนาต่างๆ
๗.  ด้านสิ่งสนับสนุนอื่นๆ
          ๗.๑  ควรจัดห้องพยาบาลในคณะพยาบาลศาสตร์เพื่อให้นิสิตและอาจารย์ใช้พักผ่อนเมื่อมีอาการเจ็บป่วย

          ๗.๒  ควรจัดแนวปฏิบัติและผู้รับผิดชอบการดูแลนิสิตเมื่อเจ็บป่วย

แนวปฏิบัติเกี่ยวกับวิทยานิพนธ์/ ดุษฎีนิพนธ์ระดับบัณฑิตศึกษา



รายงานสรุปจาก “โครงการสัมมนาบัณฑิตศึกษา ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๗
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
ณ ห้องประชุมดอกปีบ อาคารเฉลิมพระเกียรติฯ
วันพุธที่ ๗ และวันพฤหัสบดีที่ ๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๗
*****************

แนวปฏิบัติเกี่ยวกับวิทยานิพนธ์/ ดุษฎีนิพนธ์ระดับบัณฑิตศึกษา

๑.  ด้านเนื้อหาของวิทยานิพนธ์
          ๑.๑  เนื้อหาของวิทยานิพนธ์ต้องมีทฤษฎีรองรับและสามารถอธิบายที่มาของการใช้ทฤษฎี และระเบียบวิธีวิจัยได้ถูกต้อง
          ๑.๒  อาจารย์ผู้ควบคุมวิทยานิพนธ์ควรตรวจสอบเนื้อหาของวิทยานิพนธ์ให้สอดคล้องกับทฤษฎีที่นำมาใช้
          ๑.๓  อาจารย์ที่ปรึกษาควรอ่านเอกสารวิชาการคู่ขนานกับเอกสารที่นิสิตอ่านหรืออ้างอิง เพื่อทำความเข้าใจและตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหาที่นิสิตเรียบเรียงในวิทยานิพนธ์
          ๑.๔  อาจารย์ที่ปรึกษาควรแนะนำให้นิสิตจัดทำตารางการทบทวนวรรณกรรม เพื่อสะดวกในการค้นหาและอ้างอิง
          ๑.๕  คณะพยาบาลศาสตร์ควรจัดตั้ง Research Forum เพื่อให้อาจารย์แบ่งปันประสบการณ์การประยุกต์ความรู้มาใช้ในการให้คำแนะนำการทำวิทยานิพนธ์แก่นิสิต โดยอาจจะนำประเด็นปัญหาด้านการใช้สถิติมาพูดคุยเพื่อหาข้อสรุปร่วมกัน
          ๑.๖  อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ควรให้คำแนะนำแก่นิสิตด้านการคัดเลือกวารสารวิชาการที่เหมาะสมแก่นิสิตระดับปริญญาโทและปริญญาเอก
          ๑.๗  เอกสารวิชาการที่นิสิตนำมาอ้างอิงในวิทยานิพนธ์ควรเป็นเอกสารใหม่ และเขียนมาแล้วไม่เกิน ๕ ปี
๒.  รูปแบบวิทยานิพนธ์
          ๒.๑  อาจารย์ที่ปรึกษาควรศึกษารูปแบบการเขียนวิทยานิพนธ์ เพื่อให้คำแนะนำแก่นิสิตได้อย่างถูกต้อง
          ๒.๒  งานบัณฑิตศึกษาควรรวบรวมข้อผิดพลาดของนิสิตในการทำวิทยานิพนธ์ที่พบบ่อย เพื่อให้คำแนะนำและแนวทางที่เหมาะสมแก่นิสิต

๓.  ด้านการใช้ภาษาและการเรียบเรียง
          ๓.๑  อาจารย์ที่ปรึกษาควรตรวจสอบและแนะนำนิสิตด้านการเรียบเรียงเนื้อหาในวิทยานิพนธ์ รวมทั้งการเชื่อมโยงเนื้อหาแต่ละส่วนให้มีความราบรื่น
          ๓.๒  อาจารย์ที่ปรึกษาควรตรวจสอบและแนะนำนิสิตในการใช้วรรคตอนและคำเชื่อมอย่างถูกต้อง เหมาะสม ซึ่งเป็นส่วนที่มีความสำคัญต่อการสื่อสารเนื้อหาได้ชัดเจน ถูกต้อง
๔.  การจัดการกับประเด็น ปัญหาที่พบบ่อย
          ๔.๑  บทที่ ๑
                   ๔.๑.๑  ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา ควรมีความยาวประมาณ ๓-๕ หน้า
                   ๔.๑.๒  ควรเขียนสมมติฐานให้มีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์
                   ๔.๑.๓  ควรเขียนประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ โดยระบุถึงการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ให้ครบมิติการพยาบาล ได้แก่ การปฏิบัติการพยาบาล การศึกษาพยาบาล การบริหารการพยาบาล และการวิจัยทางการพยาบาล
                   ๔.๑.๔  ขอบเขตการวิจัยควรระบุประชากร (ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร และอย่างไร) และ ตัวแปรที่ศึกษา (ตัวแปรต้น ตัวแปรตาม) ให้ชัดเจน
                   ๔.๑.๕  ควรเขียนนิยามศัพท์เฉพาะให้เป็นนิยามเชิงปฏิบัติการ มิใช่นิยามเชิงทฤษฎี
          ๔.๒  บทที่ ๒
                   ๔.๒.๑  ควรอ้างอิงเอกสารวิชาการที่เป็นการอ้างอิงลำดับที่๑ (Primary Source)   และมีความทันสมัย โดยควรค้นคว้าตำรา/ หนังสือ/วารสารต่างประเทศให้มากขึ้น
                   ๔.๒.๒  ในบทที่ ๒ ควรเขียนกล่าวนำและสรุปหัวข้อที่จะนำเสนอในเนื้อหา และการนำเสนอหัวข้อในเนื้อหาต้องเป็นลำดับตรงกัน รวมทั้งถูกต้องตามรูปแบบ
          ๔.๓  บทที่ ๓
                   ๔.๓.๑  ควรเข้าใจและกำหนดประชากรที่ศึกษาให้ชัดเจน เพื่อคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างให้ชัดเจนว่าเป็นใคร ที่ไหน อย่างไร เมื่อใด และจำนวนเท่าไร (หากสามารถคาดคะเนได้) เพื่อนำมาสู่การกำหนดกลุ่มตัวอย่างและการสุ่มต้วอย่างต่อไป
                   ๔.๓.๒  ควรจัดสัมมนาผู้สอนในรายวิชาแกน เช่นวิชาวิจัยฯ สถิติฯ และวิชานโยบายฯ เพื่อจัดทำและกำหนดข้อตกลงของผู้สอนให้สอดคล้องกัน
                   ๔.๓.๓  อาจารย์ควรหาข้อสรุปเกี่ยวกับการใช้คำ “โปรแกรม” และ “รูปแบบ” ในการวิจัยกึ่งทดลอง เพื่อการใช้คำที่ตรงกัน
                   ๔.๓.๔  ควรกล่าวถึงการป้องกันความเสี่ยงของผู้เข้าร่วมการวิจัย การให้ความยินยอม และการรักษาความลับ ในหัวข้อ “การพิทักษ์สิทธิของกลุ่มตัวอย่าง”
                   ๔.๓.๕  ในขั้นตอนการเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยควรระบุว่าผู้วิจัยต้องการเก็บข้อมูลด้วยวิธีใด ใครเป็นผู้เก็บข้อมูล (ผู้วิจัย/ ผู้ช่วยวิจัย) วิธีการเตรียมผู้ช่วยวิจัย โดยเรียบเรียงเป็นขั้นตอนอย่างครบถ้วน
          ๔.๔  บทที่ ๔
                   ๔.๔.๑  อาจารย์ที่ปรึกษาควรหาข้อสรุปร่วมกันในการอ่านตาราง และการอ่านค่าสถิติต่างๆ
          ๔.๕  บทที่ ๕
                   ๔.๕.๑  นิสิตควรเชื่อมโยงการเขียนอภิปรายผลไปยังสรุปผลการวิจัย
                   ๔.๕.๒  นิสิตไม่ควรเขียนอภิปรายผลโดยการกล่าวถึงข้อเสีย ข้อผิดพลาด หรือการกล่าวโทษหน่วยงานหรือแหล่งข้อมูลที่นิสิตเก็บข้อมูล
          ๔.๖  อื่นๆ
                   ๔.๖.๑  อาจารย์ที่ทำหน้าที่ควบคุมวิทยานิพนธ์เป็นผู้ที่อยู่ในกระบวนการเรียนรู้ (Learning Process) ของนิสิตตลอดระยะเวลาของการดำเนินการวิทยานิพนธ์ ดังนั้น อาจารย์ควรสรุป Best Practice ของการควบคุมวิทยานิพนธ์ เพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจการแก้ปัญหา และวิธีการเผชิญปัญหาในการให้คำปรึกษาวิทยานิพนธ์
                   ๔.๖.๒  อาจารย์ผู้สอนวิชาวิจัยและสถิติ ควรแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นและประสบการณ์ในการสอนร่วมกัน เพื่อให้ได้ข้อสรุปถึงวิธีการจัดการเรียนการสอนที่สร้างความเข้าใจแก่ผู้เรียนในเรื่องการทำวิจัย และการกำหนดหนังสือหลักในรายวิชา เพื่อใช้เป็นแนวทางในการทำวิทยานิพนธ์

วันพุธที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2557

เทคนิคการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัยเพื่อขอรับ ทุนสนับสนุน

เทคนิคการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัยเพื่อขอรับ
ทุนสนับสนุน

ฝ่ายวิจัยฯ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ได้จัดโครงการเสวนาเพื่อการจัดการความรู้ เรื่อง “เทคนิคการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัยเพื่อขอรับทุนสนับสนุน” ผลการเสวนาได้ข้อสรุปเพื่อเป็นแนวปฏิบัติสำหรับคณาจารย์และนักวิจัย ดังนี้
     ๑.      มีการวางแผนการเตรียมความพร้อมการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย๒. ชื่อข้อเสนอโครงการวิจัยมีความน่าสนใจ ชัดเจน สอดคล้อง และตอบสนองต่อความจำเป็น หรือตอบสนองประเด็นยุทธศาสตร์ของชาติ (วช.)๓.     ควรเขียนโครงการวิจัยเพื่อขอรับทุนสนับสนุน ในรูปแบบชุดแผนงานวิจัย ที่มีโครงการวิจัยย่อย และเป็นโครงการต่อเนื่อง ตั้งแต่ ๒ ปีขึ้นไป
๔. โครงการวิจัยควรมีความร่วมมือระหว่างเครือข่ายหรือหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องแบบสหสาขาวิชาชีพ เช่น หน่วยงาน สถาบัน องค์กรวิชาชีพ โรงพยาบาล เทศบาล สำนักงานสาธารณสุข และชุมชน เป็นต้น๕. โครงการย่อยควรดำเนินการเป็นระยะ โดยเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชนและผู้ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่          ๑) การเตรียมการ          ๒) การสำรวจข้อมูลพื้นฐานที่เกี่ยวข้อง          ๓) การวิเคราะห์ประเด็นปัญหาจากฐานข้อมูลเบื้องต้น          ๔) การระดมสมองเพื่อหาแนวทาง/กิจกรรมการพัฒนาและแก้ไขประเด็นปัญหา          ๕) ดำเนินการพัฒนา/ปรับปรุง/แก้ไข          ๖) การวัดผลสำเร็จ และ          ๗) การเขียนรายงานและเผยแพร่ผลการวิจัย๖.      ทำการศึกษาวิจัยในเขตพื้นที่ที่ผู้วิจัยหรือทีมวิจัยมีความรู้ และเกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหา เช่น ในภาคตะวันออก เป็นต้น๗.      เขียนความสำคัญของปัญหาให้ชัดเจน มีความเชื่อมโยงเป็นเหตุเป็นผล สอดคล้องกับชื่อเรื่อง และวัตถุประสงค์การศึกษา๘.      มีขั้นตอน ระเบียบวิธีวิจัย และกระบวนการทำวิจัยที่ถูกต้อง กระชับ ชัดเจน และตอบวัตถุประสงค์การวิจัยครบถ้วน๙.      ระบุกลุ่มตัวอย่างที่เหมาะสมกับเรื่องที่ศึกษาและมีความเป็นไปได้ที่จะดำเนินการวิจัยได้แล้วเสร็จตามกำหนดเวลา๑๐.  การทบทวนวรรณกรรม ควรค้นคว้า ศึกษา รวบรวม ประมวลและสังเคราะห์ผลงานทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ทําวิจัย จากแหล่งข้อมูลอ้างอิงที่มีความน่าเชื่อถือ และเป็นแหล่งปฐมภูมิ๑๑.   ระบุเครื่องมือที่จะใช้ในการวิจัยให้ชัดเจน รวมทั้งที่มาและคุณภาพของเครื่องมือการวิจัย๑๒.   ระบุสถิติที่จะใช้ให้เหมาะสม และสอดคล้องวัตถุประสงค์/ คำถามการวิจัย
ควรมีนักวิจัยหน้าใหม่เป็นผู้ร่วมวิจัยด้วย เพื่อส่งเสริมการสร้างนักวิจัย๑๓.      ารนิยามศัพท์ ควรให้ความหมายคำเฉพาะที่ใช้ในการวิจัยให้ถูกต้อง เข้าใจ และมีความหมายตรงกัน๑๔.   ประโยชน์ที่จะได้รับจากการวิจัยควรเกิดผลกระทบทางบวกต่อสังคม ชุมชน และ/ หรือประเทศชาติในวงกว้าง รวมทั้งมีแผนการถ่ายทอดสู่กลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน



การเผยแพร่ :
๑.      แจกจ่ายเอกสารสรุปเนื้อหาการเสวนา ยังคณาจารย์ทุกท่านของคณะพยาบาลศาสตร์ และผู้บริหาร คณาจารย์ และนักวิจัย จากกลุ่มเครือข่ายวิทยาศาสตร์สุขภาพและเทคโนโลยี
๒.      เผยแพร่สรุปเนื้อหาทาง เว็ปไซต์ http://nurse.buu.ac.th/BgKM/ การจัดการความรู้ของคณะพยาบาลศาสตร์
สรุปผลการดำเนินกิจกรรมในแฟ้มการจัดการความรู้ ฝ่ายวิจัยฯ คณะพยาบาลศาสตร์ สามารถขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ฝ่ายวิจัยฯ ห้อง N๑๐๑ หรือ โทร. ๒๘๒๓

วันจันทร์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2557

แนวทางการเตรียมความพร้อมในการเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต

แนวทางการเตรียมความพร้อมในการเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลักหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต

เพื่อให้การจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เป็นไปด้วยความเรียบร้อย จึงกำหนดให้มีแนวทางการเตรียมความพร้อมในการเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ดังนี้
            ๑.  อาจารย์ผู้ขอรับการเตรียมความพร้อมฯ เสนอโครงการเตรียมความพร้อมการเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก ตามแบบฟอร์มการเตรียมความพร้อมฯ (บว. ๐๑) ที่คณะพยาบาลศาสตร์กำหนด เสนอต่อคณบดีคณะพยาบาลศาสตร์ โดยผ่านประธานกรรมการบริหารหลักสูตรสาขาวิชานั้น ๆ
            ๒.  ประธานกรรมการบริหารหลักสูตรสาขาวิชา พิจารณามอบหมายอาจารย์พี่เลี้ยงจากอาจารย์ที่มีประสบการณ์การเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก (Major advisor) ที่มีนิสิตสำเร็จการศึกษาอย่างน้อย ๒ คน และสมัครใจเป็นอาจารย์พี่เลี้ยง (mentor) แก่อาจารย์ผู้ขอรับการเตรียมความพร้อมฯ
            ๓.  อาจารย์ผู้ขอรับการเตรียมความพร้อมฯ วางแผนพัฒนาประสบการณ์การเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก ร่วมกับอาจารย์พี่เลี้ยง
            ๔.  อาจารย์ผู้ขอรับการเตรียมความพร้อมฯ ให้คำปรึกษาในการทำวิทยานิพนธ์ของนิสิตในฐานะอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วมภายใต้การแนะนำของอาจารย์พี่เลี้ยง เป็นเวลาอย่างน้อย ๖ เดือน พร้อมทั้งบันทึกกิจกรรม และประสบการณ์ที่ได้รับจากการควบคุมวิทยานิพนธ์ (บว. ๐๒)
            ๕.  ในระหว่างการเตรียมความพร้อมในการเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก ให้อาจารย์ผู้ขอรับการเตรียมความพร้อมฯ เข้าร่วมสังเกตการสอบป้องกันเค้าโครงวิทยานิพนธ์ อย่างน้อย ๑ ครั้ง และการสอบป้องกันวิทยานิพนธ์ อย่างน้อย ๒ ครั้ง พร้อมทั้งบันทึกประสบการณ์ที่ได้รับจากการเข้าร่วมสังเกตการณ์การสอบป้องกันเค้าโครงวิทยานิพนธ์และการสอบป้องกันวิทยานิพนธ์ และข้อเสนอแนะฯ ตามแบบฟอร์มบันทึกประสบการณ์ฯ   (บว. ๐๓) ที่คณะพยาบาลศาสตร์กำหนด โดยให้อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลักของนิสิตที่เข้าสอบ ลงนามรับรอง และเสนอต่ออาจารย์พี่ลี้ยง
            ๖.  อาจารย์พี่เลี้ยงประเมินผลการเตรียมความพร้อมฯ ตามแบบฟอร์มที่คณะฯ กำหนด (บว. ๐๔) และรายงานผลการเตรียมความพร้อมในการเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต พร้อมแนบรายงานบันทึกกิจกรรม และประสบการณ์ที่ได้รับจากการควบคุมวิทยานิพนธ์ (บว. ๐๒) และบันทึกประสบการณ์ฯ ที่ได้รับจากการเข้าร่วมสังเกตการณ์การสอบป้องกันเค้าโครงวิทยานิพนธ์และการสอบป้องกันวิทยานิพนธ์ และข้อเสนอแนะฯ (บว.๐๓) ต่อคณบดีคณะพยาบาลศาสตร์ เพื่อนำเสนอพิจารณารับรองให้เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต ต่อคณะกรรมการบริหารหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา คณะพยาบาลศาสตร์
          ๗.  กรณีที่ไม่เป็นไปตามประกาศนี้ ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา คณะพยาบาลศาสตร์


แนวทางการเตรียมความพร้อมในการเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลักหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ)

เพื่อให้การจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ)       คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เป็นไปด้วยความเรียบร้อย จึงกำหนดให้มีแนวทางการเตรียมความพร้อมในการเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ) คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ดังนี้
            ๑.  อาจารย์ผู้ขอรับการเตรียมความพร้อมฯ เสนอโครงการเตรียมความพร้อมการเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ) ตามแบบฟอร์มการเตรียมความพร้อมฯ (บว. ๐๑) ที่คณะพยาบาลศาสตร์กำหนด เสนอต่อคณบดีคณะพยาบาลศาสตร์ โดยผ่านประธานกรรมการบริหารหลักสูตรสาขาวิชานั้น ๆ
            ๒.  ประธานกรรมการบริหารหลักสูตรสาขาวิชา พิจารณามอบหมายอาจารย์พี่เลี้ยงจากอาจารย์ที่มีประสบการณ์การเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก (Major advisor) หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ) ที่มีนิสิตสำเร็จการศึกษาอย่างน้อย ๒ คน และสมัครใจเป็นอาจารย์พี่เลี้ยง (mentor) แก่อาจารย์ผู้ขอรับการเตรียมความพร้อมฯ
            ๓.  อาจารย์ผู้ขอรับการเตรียมความพร้อมฯ วางแผนพัฒนาประสบการณ์การเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก ร่วมกับอาจารย์พี่เลี้ยง
            ๔.  อาจารย์ผู้ขอรับการเตรียมความพร้อมฯ ให้คำปรึกษาในการทำวิทยานิพนธ์ของนิสิตในฐานะอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วมภายใต้การแนะนำของอาจารย์พี่เลี้ยง เป็นเวลาอย่างน้อย ๖ เดือน พร้อมทั้งบันทึกกิจกรรม และประสบการณ์ที่ได้รับจากการควบคุมวิทยานิพนธ์ (บว. ๐๒)
            ๕.  ในระหว่างการเตรียมความพร้อมในการเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก ให้อาจารย์ผู้ขอรับการเตรียมความพร้อมฯ เข้าร่วมสังเกตการสอบป้องกันเค้าโครงวิทยานิพนธ์ นิสิตหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ) อย่างน้อย ๑ ครั้ง และการสอบป้องกันวิทยานิพนธ์ นิสิตหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ) อย่างน้อย ๒ ครั้ง พร้อมทั้งบันทึกประสบการณ์ที่ได้รับจากการเข้าร่วมสังเกตการณ์การสอบ-ป้องกันเค้าโครงวิทยานิพนธ์และการสอบป้องกันวิทยานิพนธ์ และข้อเสนอแนะฯ ตามแบบฟอร์มบันทึกประสบการณ์(บว. ๐๓) ที่คณะพยาบาลศาสตร์กำหนด โดยให้อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลักของนิสิตหลักสูตรพยาบาลศาสตร-
มหาบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ) ที่เข้าสอบ ลงนามรับรอง และเสนอต่ออาจารย์พี่ลี้ยง
            ๖.  อาจารย์พี่เลี้ยงประเมินผลการเตรียมความพร้อมฯ ตามแบบฟอร์มที่คณะฯ กำหนด (บว. ๐๔) และรายงานผลการเตรียมความพร้อมในการเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก หลักสูตรพยาบาลศาสตร-มหาบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ) พร้อมแนบรายงานบันทึกกิจกรรม และประสบการณ์ที่ได้รับจากการควบคุมวิทยานิพนธ์ (บว. ๐๒) และบันทึกประสบการณ์ฯ ที่ได้รับจากการเข้าร่วมสังเกตการณ์การสอบป้องกันเค้าโครงวิทยานิพนธ์และการสอบป้องกันวิทยานิพนธ์ และข้อเสนอแนะฯ (บว.๐๓) ต่อคณบดีคณะพยาบาลศาสตร์ เพื่อนำเสนอพิจารณารับรองให้เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ) ต่อคณะกรรมการบริหารหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา คณะพยาบาลศาสตร์
          ๗.  กรณีที่ไม่เป็นไปตามประกาศนี้ ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา คณะพยาบาลศาสตร์

แนวทางการเตรียมความพร้อมในการเป็นอาจารย์ผู้สอน หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต

แนวทางการเตรียมความพร้อมในการเป็นอาจารย์ผู้สอน หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ)
เพื่อให้การจัดการเรียนการสอนหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ) คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เป็นไปด้วยความเรียบร้อย จึงกำหนดให้มีแนวทางการเตรียมความพร้อมในการเป็นอาจารย์ผู้สอนหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ) คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ดังนี้
            ๑.  ผู้ที่มีคุณสมบัติตามประกาศคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เรื่อง คุณสมบัติอาจารย์ผู้สอนหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ) เสนอโครงการเตรียมความพร้อมในการเป็นอาจารย์ผู้สอน ตามแบบฟอร์มการเตรียมความพร้อมฯ (บส. ๐๑) ที่คณะพยาบาลศาสตร์กำหนด ดังนี้
                   ๑.๑  การเตรียมความพร้อมในการเป็นอาจารย์ผู้สอนรายวิชาแกน อาจารย์ผู้ขอรับการเตรียมความพร้อมฯ เสนอโครงการเตรียมความพร้อมในการเป็นอาจารย์ผู้สอนรายวิชาแกนอย่างน้อย ๑ รายวิชาต่อคณบดีคณะพยาบาลศาสตร์ โดยผ่านประธานรายวิชาแกน
                   ๑.๒  สำหรับรายวิชาเฉพาะสาขา อาจารย์ผู้ขอรับการเตรียมความพร้อมฯ เสนอโครงการเตรียมความพร้อมในการเป็นอาจารย์ผู้สอนรายวิชาภาคทฤษฎี อย่างน้อย ๑ รายวิชา และรายวิชาภาคปฏิบัติ อย่างน้อย ๑ รายวิชาต่อคณบดีคณะพยาบาลศาสตร์ โดยผ่านประธานกรรมการบริหารหลักสูตรสาขาวิชานั้น ๆ
            ๒.  ประธานรายวิชาแกน (กรณีรายวิชาแกน) หรือ ประธานกรรมการบริหารหลักสูตรสาขาวิชา (กรณีรายวิชาเฉพาะสาขา) พิจารณามอบหมายอาจารย์พี่เลี้ยงจากอาจารย์ผู้สอนที่มีประสบการณ์การสอนในรายวิชาดังกล่าวมาไม่น้อยกว่า ๒ ปี และสมัครใจเป็นอาจารย์พี่เลี้ยง (mentor) แก่อาจารย์ผู้ขอรับการเตรียมความพร้อม
            ๓.  อาจารย์ผู้ขอรับการเตรียมความพร้อมฯ วางแผนพัฒนาความเชี่ยวชาญการสอนฯ ร่วมกับอาจารย์พี่เลี้ยง
            ๔.  อาจารย์ผู้ขอรับการเตรียมความพร้อมฯ สังเกตการสอนของอาจารย์พี่เลี้ยง และร่วมเป็นอาจารย์ผู้ช่วยสอน อย่างน้อย ๑ หน่วยกิต ในหัวข้อที่สนใจ พร้อมทั้งจัดทำรายงานบันทึกกิจกรรมการสอน (บส. ๐๒) และประเมินผลการเตรียมความพร้อมของตนเอง (บส. ๐๓) เสนอต่ออาจารย์พี่เลี้ยง
            ๕.  อาจารย์พี่เลี้ยงประเมินผลการเตรียมความพร้อมฯ (บส. ๐๔) และรายงานผลการเตรียมความพร้อมในการเป็นอาจารย์ผู้สอนหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต พร้อมแนบรายงานบันทึกกิจกรรมการสอน (บส. ๐๒) และประเมินผลการเตรียมความพร้อมของตนเอง (บส. ๐๓) ต่อคณบดีคณะพยาบาลศาสตร์ เพื่อนำเสนอพิจารณารับรองให้เป็นอาจารย์ผู้สอนหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต ต่อคณะกรรมการบริหารหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา คณะพยาบาลศาสตร์ 
          ๖.  กรณีที่ไม่เป็นไปตามประกาศนี้ ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา คณะพยาบาลศาสตร์



แนวทางการเตรียมความพร้อมในการเป็นอาจารย์ผู้สอนหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต 
เพื่อให้การจัดการเรียนการสอนหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เป็นไปด้วยความเรียบร้อย จึงกำหนดให้มีแนวทางการเตรียมความพร้อมในการเป็นอาจารย์ผู้สอนหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ดังนี้
            ๑.  ผู้ที่มีคุณสมบัติตามประกาศคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เรื่อง คุณสมบัติอาจารย์ผู้สอนหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต เสนอโครงการเตรียมความพร้อมในการเป็นอาจารย์ผู้สอน ตามแบบฟอร์มการเตรียมความพร้อมฯ (บส. ๐๑) ที่คณะพยาบาลศาสตร์กำหนด ดังนี้
                   ๑.๑  การเตรียมความพร้อมในการเป็นอาจารย์ผู้สอนรายวิชาแกน อาจารย์ผู้ขอรับการเตรียมความพร้อมฯ เสนอโครงการเตรียมความพร้อมในการเป็นอาจารย์ผู้สอนรายวิชาแกนอย่างน้อย ๑ รายวิชาต่อคณบดีคณะพยาบาลศาสตร์ โดยผ่านประธานรายวิชาแกน
                   ๑.๒  สำหรับรายวิชาเฉพาะสาขา  อาจารย์ผู้ขอรับการเตรียมความพร้อมฯ เสนอโครงการเตรียมความพร้อมในการเป็นอาจารย์ผู้สอนรายวิชาภาคทฤษฎี อย่างน้อย ๑ รายวิชา และรายวิชาภาคปฏิบัติ อย่างน้อย ๑ รายวิชาต่อคณบดีคณะพยาบาลศาสตร์ โดยผ่านประธานกรรมการบริหารหลักสูตรสาขาวิชานั้น ๆ
            ๒.  ประธานรายวิชาแกน (กรณีรายวิชาแกน) หรือ ประธานกรรมการบริหารหลักสูตรสาขาวิชา (กรณีรายวิชาเฉพาะสาขา) พิจารณามอบหมายอาจารย์พี่เลี้ยงจากอาจารย์ผู้สอนที่มีประสบการณ์การสอนในรายวิชาดังกล่าวมาไม่น้อยกว่า ๒ ปี และสมัครใจเป็นอาจารย์พี่เลี้ยง (mentor) แก่อาจารย์ผู้ขอรับการเตรียมความพร้อม
            ๓.  อาจารย์ผู้ขอรับการเตรียมความพร้อมฯ วางแผนพัฒนาความเชี่ยวชาญการสอนฯ ร่วมกับอาจารย์พี่เลี้ยง
            ๔.  อาจารย์ผู้ขอรับการเตรียมความพร้อมฯ สังเกตการสอนของอาจารย์พี่เลี้ยง และร่วมเป็นอาจารย์ผู้ช่วยสอน อย่างน้อย ๑ หน่วยกิต ในหัวข้อที่สนใจ พร้อมทั้งจัดทำรายงานบันทึกกิจกรรมการสอน (บส. ๐๒) และประเมินผลการเตรียมความพร้อมของตนเอง (บส. ๐๓) เสนอต่ออาจารย์พี่เลี้ยง
            ๕.  อาจารย์พี่เลี้ยงประเมินผลการเตรียมความพร้อมฯ (บส. ๐๔) และรายงานผลการเตรียมความพร้อมในการเป็นอาจารย์ผู้สอนหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต พร้อมแนบรายงานบันทึกกิจกรรมการสอน (บส. ๐๒) และประเมินผลการเตรียมความพร้อมของตนเอง (บส. ๐๓) ต่อคณบดีคณะพยาบาลศาสตร์ เพื่อนำเสนอพิจารณารับรองให้เป็นอาจารย์ผู้สอนหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต ต่อคณะกรรมการบริหาร-หลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา คณะพยาบาลศาสตร์
            ๖.  กรณีที่ไม่เป็นไปตามประกาศนี้ ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา คณะพยาบาลศาสตร์