วันพุธที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

เทคนิคการเรียนการสอนภาคปฏิบัติ ประเด็น: จิตวิญญาณความเป็นครูพยาบาล


กระบวนการจัดการความรู้ (knowledge Management Process)

                คณะพยาบาลศาสตร์  ได้นำแนวคิดในการบริหารจัดการความรู้ของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (กพร.) และสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ มาประยุกต์ใช้ในการดำเนินงาน ด้านการจัดการความรู้ (KM) ประกอบด้วย 7 ขั้นตอน ดังนี้
1.       การค้นหาความรู้ (Knowledge Identification) คือการพิจารณากำหนดเป้าหมายในการจัดทำชุดความรู้ และค้นหาความรู้ที่สำคัญขององค์กร โดยใช้แผนที่ความรู้ (Knowledge Mapping) เพื่อช่วยให้เห็นคลังความรู้ขององค์กรได้
2.       การสร้างและแสวงหาความรู้ (Knowledge Acquisition) คือการแสวงหา/กำหนดเนื้อหาของชุดความรู้ เช่นการสร้างความรู้ใหม่ การแสวงหาจากภายนอก การรักษาความรู้เก่า โดยในขั้นตอนนี้มีปัจจัยที่สำคัญคือ การสร้างบรรยากาศและวัฒนธรรมให้เอื้อต่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน
3.       การจัดการความรู้ให้เป็นระบบ (Knowledge Organization) คือการวางโครงสร้างความรู้ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเก็บความรู้อย่างเป็นระบบในอนาคต เพื่อให้ผู้ใช้สามารถค้นหาและนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างสะดวก ซึ่งอาจแบ่งตามหัวเรื่อง กระบวนการ หรือหน้าที่ เป็นต้น
4.       การประมวลและกลั่นกรองความรู้ (Knowledge Codification and Refinement) การจัดทำหรือปรับปรุงรูปแบบของเอกสารให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งองค์กร การจัดทำอภิธานศัพท์ ของคำจำกัดความ ความหมายของคำต่าง ๆ รวมทั้งการปรับปรุงเนื้อหาให้ครบถ้วน สมบูรณ์ ทันสมัยตลอดเวลาเพื่อให้ผู้นำไปใช้มีความเข้าใจตรงกัน และสะดวกรวดเร็วในการเปิดใช้
5.       การเข้าถึงความรู้ (Knowledge Access) เป็นการอำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้ความรู้สามารถเข้าถึงได้ง่ายและสะดวก อาจมี 2 ลักษณะคือ (1) การป้อนความรู้ (Push) เป็นการส่งข้อมูลความรู้ไปให้ผู้รับโดยไม่ได้ร้องขอหรือต้องการ เช่นหนังสือเวียน (2) การให้โอกาสเลือกใช้ความรู้ (Pull) คือการที่ผู้รับสามารถเลือกใช้ความรู้ได้เฉพาะข้อมูลหรือความรู้ที่ต้องการเท่านั้น
6.       การแบ่งปันและแลกเปลี่ยนความรู้ (Knowledge Sharing) ทำได้หลายวิธีการ โดยกรณีเป็น Explicit Knowledge อาจจัดทำเป็น เอกสาร  ฐานความรู้  เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือกรณีเป็น Tacit Knowledge อาจจัดทำเป็นระบบ ทีมข้ามสายงาน, กิจกรรมกลุ่ม คุณภาพและนวัตกรรม  ชุมชนแห่งการเรียนรู้ ระบบพี่เลี้ยงการสับเปลี่ยนงาน  การยืมตัว  เวทีแลกเปลี่ยนความรู้ เป็นต้น
7.       การเรียนรู้ (Learning) ควรทำให้การเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งของงาน เช่นเกิดระบบการเรียนรู้จาก สร้างองค์ความรู้> นำความรู้ไปใช้> เกิดการเรียนรู้และประสบการณ์ใหม่ และหมุนเวียนต่อไปอย่างต่อเนื่อง




ภาพ  1 การจัดการความรู้ในองค์กร (Organization Knowledg Mangement)

 

ขั้นตอนการดำเนินงาน

การค้นหาความรู้

            คณะพยาบาลศาสตร์ ได้ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการความรู้ (KM) มาอย่างต่อเนื่อง โดยได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารจัดการความรู้ เพื่อทำหน้าที่พัฒนากระบวนการจัดการความรู้ในองค์กรให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งคณะกรรมการ ฯ ได้มีการประชุม ฯ เมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2560 เพื่อทำความเข้าใจแนวทางในการพัฒนาองค์ความรู้ด้านการเรียนการสอนภาคปฏิบัติ และได้มีการจัดทำแผนการจัดการความรู้ (KM Action Plan) ภายใต้พื้นฐานความคิดที่ตกผลึกจากผู้สอนที่มีความเชี่ยวชาญมานานกว่ายี่สิบปี           พัฒนาเป็นโมเดลของหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ในการเรียนการสอนภาคปฏิบัติเพื่อมุ่งสู่การพัฒนานิสิตตามอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยและเอกลักษณ์ของคณะ ภายใต้ โมเดลที่ชื่อว่า Faculty of Nursing, BUU Clinical learning Model  (FONBUU  CLM)  ดังภาพที่ 2  ประกอบด้วยองค์ประกอบหลักสามชั้น คือ ชั้นในสุดเป็น สมรรถนะหลักของนิสิตที่ต้องการพัฒนา ชั้นถัดมาเป็นความรู้หลักที่ครูพยาบาล มหาวิทยาลัยบูรพา ต้องมีเรียกว่า Core Knowledge of nursing practicum for teachers BUU_NU  ซึ่งกำหนดเป็นแผนที่ทางความรู้ (Knowledge Mapping) มี 6 ประเด็นหลัก ดังภาพที่ 3  ได้แก่
1)      Specific knowledge and clinical performance (Mentor system, faculty practice)
2)      System Thinking, Reasoning Thinking
3)      Socialization
4)      Integrative Teaching Technique
5)      Formative evolution
6)      The soul of a Teacher (role model, relationship, student judgment, caring)
       ชั้นนอกสุดเป็นองค์ประกอบที่เป็นบริบทสำคัญของการเรียนการสอนภาคปฏิบัติที่จะประสบความสำเร็จและมีประสิทธิภาพ คือ ความพร้อมของแหล่งฝึก  สิ่งอำนวยความสะดวกจากคณะฯ  และการบริหารหลักสูตร
  


ภาพ  2 Faculty of Nursing, BUU Clinical learning Model  (FONBUU  CLM)


ภาพ  3 แผนที่ทางความรู้ (Knowledge Mapping) Ver.01



แผนการจัดการความรู้ขององค์กรด้านการเรียนการสอน: การจำแนกองค์ความรู้ที่จำเป็นต่อการผลักดันตามประเด็นยุทธศาสตร์
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ประจำปีงบประมาณ 2560

ประเด็นยุทธศาสตร์
เป้าประสงค์
ตัวชี้วัด (KPI)
เป้าหมายของตัวชี้วัด
องค์ความรู้ที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงาน
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาคุณภาพบัณฑิต
กลยุทธ์ที่ 1.3 การพัฒนาทักษะของนิสิตให้ได้มาตรฐานตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพและ มาตรฐานทางด้านภาษาต่างประเทศ
เพื่อให้ได้องค์ความรู้ใหม่เกี่ยวกับเทคนิคการสอนภาคปฏิบัติของคณะพยาบาลศาสตร์
อาจารย์มีความรู้ความสามารถในการเรียนการสอนภาคปฏิบัติ

ร้อยละของอาจารย์ใหม่ที่ได้รับการพัฒนาศักยภาพการสอนภาคปฏิบัติ
-เทคนิคการสอนภาคปฏิบัติ
-    Hospital Base area 
-    Community Base area
เช่น -การเตรียมพร้อมของอาจารย์ การเตรียมนิสิต
-    การปรับทัศนคติ
-    การ Pre-conference , post conference  และการประเมินผล
-    การประสานงานกับแหล่งฝึก
-    บุคลิกภาพของผู้สอน





แผนการจัดการความรู้ (KM Action Plan)

หน่วยงาน : คณะพยาบาลศาสตร์
:
คณะพยาบาลศาตร์
ประเด็นยุทธศาสตร์
:
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาคุณภาพบัณฑิต
องค์ความรู้ที่จำเป็น (KM)
:
การพัฒนาเทคนิคการสอนภาคปฏิบัติ
ตัวชี้วัด (KPI)
:
อาจารย์มีความรู้ความสามารถในการเรียนการสอนภาคปฏิบัติ
เป้าหมายของตัวชี้วัด
:
ร้อยละของอาจารย์ใหม่ที่ได้รับการพัฒนาศักยภาพการสอนภาคปฏิบัติ

ลำดับที่
กิจกรรมการจัดการความรู้
ระยะเวลา
ตัวชี้วัด
เป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมาย
ผู้รับผิดชอบ
สถานะ
หมายเหตุ
1.
ค้นหาความรู้
- แต่งตั้งคณะกรรมการจัดการความรู้ KM ด้านการเรียนการสอนภาคปฏิบัติระดับคณะฯ
 -ประชุมร่วมกัน เพื่อชี้แจงแนวทางการพัฒนาองค์ความรู้ของคณะฯด้านการเรียนการสอน
-วิเคราะห์ตนเองเกี่ยวกับองค์ความรู้ที่จำเป็นด้านการเรียนการสอนและจัดทำ knowledge mapping  ของคณะ ฯ ด้านการเรียนการสอนทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ 
1 สัปดาห์
ประเด็นความรู้ที่สามารถนำไปใช้ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการเรียนการสอนภาคปฏิบัติ
2 ประเด็น
อาจารย์ที่มีประสบการณ์ด้านการสอนภาคปฏิบัติ มากกว่า 10 ปีขึ้นไป ที่มาจาก 7 สาขาๆ 2 คน จำนวน 14 - 15 คน (กรรมการ KM ด้านการเรียนการสอนภาคปฏิบัติ)
รองคณบดีฝ่ายบริหารและประกันคุณภาพการศึกษา






ลำดับที่
กิจกรรมการจัดการความรู้
ระยะเวลา
ตัวชี้วัด
เป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมาย
ผู้รับผิดชอบ
สถานะ
หมายเหตุ
2.
สร้างและแสวงหาความรู้
-คณะกรรมการ ฯ กำหนดเนื้อหาความรู้ที่คณะ ฯ ต้องการ
-คณะกรรมการ ฯ ประชุมร่วมกันแบบไม่เป็นทางการเดือนละ 2 ครั้ง ทุกวันอังคาร ครั้งละ 1 ชั่วโมงเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์การสอนภาคปฏิบัติ โดยให้แต่ละคนแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ฯ คนละ 3 นาที
-จัดทำ Blog หน้า website ของคณะฯ เพื่อให้ผู้สนใจอื่น ๆสามารถแสดงเรียนรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์เพิ่มเติมได้ 
มีนาคม – สิงหาคม 2560
ทุกวันอังคาร
เวลา 15.30 – 16.30 น.
แลกเปลี่ยนประสบการณ์การสอนภาคปฏิบัติ คนละ 3 นาที
จำนวนครั้งในการแลกเปลี่ยนประเด็นความรู้ 8 – 10 ครั้ง
อาจารย์ที่มีประสบการณ์ด้านการสอนภาคปฏิบัติ มากกว่า 10 ปีขึ้นไป ที่มาจาก 7 สาขาๆ 2 คน จำนวน 14 - 15 คน
กรรมการKM ด้านการเรียนการสอนภาคปฏิบัติ


3-4
สรุปประเด็นความรู้
- ในแต่ละครั้งมีการสรุปประเด็นหรือสาระที่มีการแลกเปลี่ยนไว้เป็นลายลักษณ์อักษร
 -รวบรวม วิเคราะห์ ประเด็นที่ได้
 -เรียบเรียงเนื้อหา และบันทึกอย่างเป็นระบบ
- คณะกรรมการ ฯ ร่วมกันสรุปประเด็น และจัดระบบความรู้การสอนภาคปฏิบัติ
เดือนละครั้ง
ร่างสรุปประเด็นหรือสาระที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แต่ละครั้ง
4-5 ครั้งแรกของการประชุม
คณะกรรมการ ฯ






ลำดับที่
กิจกรรมการจัดการความรู้
ระยะเวลา
ตัวชี้วัด
เป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมาย
ผู้รับผิดชอบ
สถานะ
หมายเหตุ
5.
-ประธานฯ และเลขาฯ จัดทำรายงานสรุปเทคนิคการสอนภาคปฏิบัติเสนอต่อคณะกรรมการบริหารคณะพยาบาลศาสตร์ เพื่อพิจารณากำหนดกลุ่มเป้าหมายที่จะนำองค์ความรู้ ไปทดลองใช้ เช่น
อาจารย์ใหม่ ที่ยังไม่มีประสบการณ์ในการสอนภาคปฏิบัติ หรืออาจารย์เก่า
-คณะกรรมการ KM ติดตาม/ประเมินผลการนำไปใช้ ในกลุ่มอาจารย์และนิสิต
-นำผลการประเมินหรือข้อเสนอแนะที่ได้มาปรับปรุงองค์ความรู้ที่ได้ให้สมบูรณ์
เดือนกรกฎาคม





ปีการศึกษา 2560
-รายงานสรุปองค์ความรู้การสอนภาคปฏิบัติ
-รายงานการประเมินผลการนำองค์ความรู้ไปใช้
-รายงานการปรับปรุงหลังจากการนำไปทดลองใช้
ได้ประเด็นในการพัฒนา 3 ประเด็น
-    การเตรียม
-    กระบวนการนิเทศ
-    การประเมินผล
มีการนำเทคนิคฯ ไปใช้อย่างน้อย 1 รายวิชา/ภาคการศึกษา




คณะกรรมการ ฯ




อาจารย์ใหม่/อาจารย์เก่า/นิสิต




6.
คณะกรรมการ ฯ พัฒนาคู่มือและจัดทำเป็นรูปเล่มพร้อมเผยแพร่ในระบบสารสนเทศของคณะฯ จำนวน 2 เล่มดังนี้
1.    คู่มืออธิบายกระบวนการได้มาซึ่งองค์ความรู้ด้านการสอนภาคปฏิบัติ
2.    คู่มือสรุปเทคนิคการสอนภาคปฏิบัติทางการพยาบาล (Best Practice)
ปีการศึกษา 2560
จำนวนคู่มือการพัฒนาองค์ความรู้
1 เรื่อง
คณะกรรมการ ฯ



7.
คณะกรรมการ KM ประเมินผลการนำองค์ความรู้ที่ได้ไปเพื่อพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
ปีการศึกษา 2560
จำนวนครั้งในการติดตาม
มีการประเมิน ฯ คู่มือ อย่างต่อเนื่อง
คณะกรรมการ ฯ




การสร้างและแสวงหาความรู้ (Knowledge Acquisition)

คณะกรรมการ ฯ ได้คัดเลือกประเด็นความรู้ที่สำคัญขององค์กรสองประเด็นแรก   คือ 1) จิตวิญญาณความเป็นครู (The soul of a teacher)และ2) การพัฒนาตัวตนทางสังคม (Socialization) โดยใช้รูปแบบในการสร้างและแสวงหาความรู้ (Knowledge Acquisition) ผ่านวิธีการถ่ายทอดองค์ความรู้และทักษะที่มีอยู่ในตัวบุคคลซึ่งเกิดจากประสบการณ์และการเรียนรู้ (Tacit Knowledge)           คณะกรรมการ ฯ ได้ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตามแผนที่กำหนด จำนวน 5 ครั้ง ทุกหนึ่งถึงสองเดือน ถ่ายทอดประสบการณ์การสอนภาคปฏิบัติ โดยใช้วิธีการ “เล่าเรื่อง” โดยกำหนดให้กรรมการแต่ละท่านใช้เวลาประมาณ 3 - 5 นาที ต่อการเล่าเรื่องแต่ละครั้ง ซึ่งจะวนไปประมาณ 2 – 3 รอบ เพื่อสร้างบรรยากาศ และวัฒนธรรมที่ดีในการเรียนรู้ ในขั้นตอนนี้ จะไม่มีการอภิปราย และมีเจ้าหน้าที่จดบันทึกรายละเอียด และอำนวยความสะดวก  เมื่อสิ้นสุดการประชุม ฯ ในแต่ละครั้งประธานกรรมการ ฯ และเลขานุการ จะนำข้อมูลที่ได้บันทึกไว้ มาสรุปประเด็น และจัดเป็นหัวข้อ โดยมีรายละเอียดดังนี้
1.       โลกทัศน์เชิงบวก (positive perspective) ในศักยภาพของนิสิต
2.       มีความยุติธรรม (fairness)  ทั้งเชิงสัมพันธภาพและการประเมินผล
3.       เป็นแบบอย่างที่ดีทั้งด้านบุคลิกภาพส่วนบุคคลและเชิงวิชาชีพ (role model) ให้รักและภูมิใจในวิชาชีพ  
4.       สร้างบรรยากาศการเรียนรู้ ให้ความเอาใจใส่ สลายความกลัว  
5.       ส่งเสริมและกระตุ้นให้เกิดความตระหนักรู้ในตนเอง  
6.       มีความยืดหยุ่นต่อสถานการณ์ 
7.       มีเหตุผล รับฟัง และรอได้   
8.       ทักษะการ feedback เชิงสร้างสรรค์  
9.       ตระหนักรู้ถึงหน้าที่ความเป็นครู  
10.   ดูแลนิสิต ในเรื่องความรู้ การพัฒนา ชีวิตส่วนตัว
11.   อิทธิพลของอาจารย์พี่เลี้ยง
12.   ความยืดหยุ่นของอาจารย์ 
13.   การประคับครองนิสิต ต้องจัดการ เอื้ออำนวย ประสานงาน 
14.   ตรวจสอบอารมณ์ประจำวันของตัวเองเพื่อปรับอุณหภูมิของตัวเอง /ควบคุมอารมณ์ของตัวเอง/การเตรียมความพร้อมของอาจารย์นิเทศ 
15.   การสร้างปริมณฑลของกันและกัน/อิทธิพลต่อคนรอบข้าง 
16.   การกำหนด Outcome ก่อนการฝึกปฏิบัติ   
17.   ลดความคาดหวังของตัวอาจารย์  
18.   ทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย    
19.   เรียนรู้จากประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน โดยการสะท้อนคิดให้นิสิต/ให้เด็กเรียนรู้จากความผิดพลาด/บางครั้งเราก็ต้องยอมอดทนให้เด็กเจอความเจ็บปวดเหมือนกัน    
20.   สอดแทรกให้นิสิตมีความภาคภูมิใจในวิชาชีพ /มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ    
21.   สอนให้นิสิตมีการวางอุเบกขาต่อสิ่งต่างๆ    
22.   การสร้างบรรยากาศการเรียนรู้    
23.   สร้างประสบการณ์ที่ดีในการฝึกปฏิบัติครั้งแรก/สร้างความมั่นใจของเด็กในการทำงาน     
24.   อาจารย์นิเทศต้องบริหารจัดการให้งานมันไม่รู้สึกว่าเป็น Burden กับนิสิตมาก
25.   เตรียมความพร้อมให้นิสิตเพื่อไม่ให้เค้าตื่นตระหนกตกใจกลัว/กระบวนการให้เด็กรื้อฟื้นสิ่งที่ลืมอย่างรวดเร็ว     
26.   จ่ายงานที่เหมาะสมกับนิสิต และเหมาะสมกับรายวิชา    
27.   เปิดโอกาสให้นิสิตค้นคว้าข้อมูลในระหว่างการฝึกปฏิบัติ  
28.   การเรียนการสอนโดยเอาใจเขามาใส่ใจเรา         
29.   สร้างสัมพันธภาพที่ดีกับคนในวอร์ด/เพื่อร่วมงาน    
30.   ไม่ต่อว่าเด็กต่อหน้าคนหมู่มาก    
31.   ไม่ทำให้ปัญหาผ่านไป ไม่ทิ้งปัญหาข้ามวัน    
32.   ให้เค้าแสวงหาความรู้ให้เป็น ต้องหาคำตอบที่ไหน แล้วต้องหาคำตอบให้ได้   
33.   ทำให้นิสิตรู้สึกว่าไม่ถูกทอดทิ้ง     
34.   สังเกตนิสิต ต้องไวต่อความรู้สึกของนิสิต    

สรุปประเด็นองค์ความรู้ด้านการปฏิบัติ

            คณะกรรมการ ฯ ได้รวบรวม วิเคราะห์ และสรุปประเด็น ที่ได้จากการแลกเปลี่ยน ฯ โดยมีการจำแนก จัดกลุ่มของประเด็นต่าง ๆ  ที่มีความสัมพันธ์ต่อกัน สรุปดังภาพ 4 มีรายละเอียดดังนี้
1.    มุมมองเชิงบวก (Positive view )
                 - มีพรหมวิหาร 4 เป็นธรรมะประจำใจของผู้ใหญ่ (ครู) เป็นที่พึ่งของศิษย์ (The Four Divine
                    States of Mind) ได้แก่ ความปรารถนาให้ลูกศิษย์มีความสุขในการเรียน (เมตตา), ความ
                    ช่วยเหลือศิษย์เพื่อให้พ้นจากความทุกข์ทั้งทางด้านร่างกาย และความทุกข์ทางด้านจิตใจ
                    (กรุณา), ความยินดี เมื่อศิษย์มีความสุขหรือมีความเจริญก้าวหน้า  (มุทิตา), วางใจเป็น
                    กลางเมื่อเกิดเหตุสุดวิสัย (อุเบกขา)
-       มีความยุติธรรม ถูกต้อง ชอบธรรม เป็นกลาง ไม่มีอคติ และ รับฟังและเข้าใจความคิด
     (Faired  & Open Mind) 
-       ศรัททธาและชื่อชมในคุณค่าของวิชาชีพพยาบาล (Faith of Nursing)  
2.    การกระทำ หรือการปฏิบัติ (Performance)
-       การเป็นแบบอย่างที่ดี (Role Model) คือเป็นแบบอย่างที่ดีอย่างสม่ำเสมอ
-       มีทักษะเชิงคลนินิก (Clinical skill)
-       มีความรับผิดชอบด้านจริยธรรม และธรรมาภิบาล (Accountability)
-       มีความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาที่สอน (Expertise)
-       มีความเป็นพี่เป็นพี่เลี่ยง (Mentorship/Coaching)
3.    การบริหารจัดการในการสอนภาคปฏิบัติ (Clinical Learning Management)  
-       บรรลุเป้าหมาย (Goal achievement)
-       การบริหารเวลา (Time)
-       การบริหารความขัดแย้ง (Conflict & problem)
-       การประสานกับสหสาขาวิชา (Multidisciplinary collaboration )
-       การแลกเปลี่ยนความรู้ (Knowledge  sharing)

-ดำรงตนเป็นแบบอย่าง
-มีทักษะเชิงคลินิกและความเชี่ยวชาญ
-ให้คำปรึกษาโดยใช้ระบบพี่เลี้ยง
-


การกระทำ
การจัดการการเรียนรู้เชิงคลีนิก
-          เวลา
-          ความขัดแย้งและปัญหา
-          การบรรลุเป้าหมาย
-          การประสานระหว่างทีมสหวิชาชีพ
โลกทัศน์เชิงบวกPositive View
มีความยุติธรรม และเปิดใจ
Faired & Open Mind
พรหมวิหารสี่ ( เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา)

ศรัทธาและเห็นคุณค่าของวิชาชีพพยาบาลFaith of Nursing
-ดำรงตนเป็นแบบอย่าง
-มีทักษะเชิงคลินิกและความเชี่ยวชาญ
-ให้คำปรึกษาโดยใช้ระบบพี่เลี้ยง
-


การกระทำ
การจัดการการเรียนรู้เชิงคลีนิก
-          เวลา
-          ความขัดแย้งและปัญหา
-          การบรรลุเป้าหมาย
-          การประสานระหว่างทีมสหวิชาชีพ
โลกทัศน์เชิงบวกPositive View
มีความยุติธรรม และเปิดใจ
Faired & Open Mind
พรหมวิหารสี่ ( เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา)

ศรัทธาและเห็นคุณค่าของวิชาชีพพยาบาลFaith of Nursing
-ดำรงตนเป็นแบบอย่าง
-มีทักษะเชิงคลินิกและความเชี่ยวชาญ
-ให้คำปรึกษาโดยใช้ระบบพี่เลี้ยง
-


การกระทำ

 


ภาพ  4 สรุปประเด็นหลักจิตวิญญาณความเป็นครูและกระบวนการทางสังคม

ข้อเสนอแนะในการนำความรู้ไปใช้
1. เป็นแนวทางการเตรียมความพร้อมแก่อาจารย์ใหม่ในหลักสูตรปริญญาตรี
2. พัฒนาเป็นแบบประเมินตนเองเพื่อระบุความต้องการอบรมหรือพัฒนาตนเอง
3. ทดลองนำไปใช้ในการเตรียมอาจารย์ใหม่ก่อนการสอนเชิงคลินิก และประเมินประสิทธิภาพของการสอน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น