วันศุกร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2561

การพัฒนาตนเองให้เป็นนักวิจัยในสายเลือด (DNA Researcher Development)

กระบวนการจัดการความรู้ (knowledge Management Process)

            คณะพยาบาลศาสตร์  ได้นำแนวคิดในการบริหารจัดการความรู้ของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (กพร.) และสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ มาประยุกต์ใช้ในการดำเนินงาน ด้านการจัดการความรู้ (KM) ประกอบด้วย 7 ขั้นตอน ดังนี้
1. การค้นหาความรู้ (Knowledge Identification) คือการพิจารณากำหนดเป้าหมายในการจัดทำชุดความรู้ และค้นหาความรู้ที่สำคัญขององค์กร โดยใช้แผนที่ความรู้ (Knowledge Mapping) เพื่อช่วยให้เห็นคลังความรู้ขององค์กรได้
2. การสร้างและแสวงหาความรู้ (Knowledge Acquisition) คือการแสวงหา/กำหนดเนื้อหาของชุดความรู้ เช่นการสร้างความรู้ใหม่ การแสวงหาจากภายนอก การรักษาความรู้เก่า โดยในขั้นตอนนี้มีปัจจัยที่สำคัญคือ การสร้างบรรยากาศและวัฒนธรรมให้เอื้อต่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน
3. การจัดการความรู้ให้เป็นระบบ (Knowledge Organization) คือการวางโครงสร้างความรู้ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเก็บความรู้อย่างเป็นระบบในอนาคต เพื่อให้ผู้ใช้สามารถค้นหาและนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างสะดวก ซึ่งอาจแบ่งตามหัวเรื่อง กระบวนการ หรือหน้าที่ เป็นต้น
4. การประมวลและกลั่นกรองความรู้ (Knowledge Codification and Refinement) การจัดทำหรือปรับปรุงรูปแบบของเอกสารให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งองค์กร การจัดทำอภิธานศัพท์ ของคำจำกัดความ ความหมายของคำต่าง ๆ รวมทั้งการปรับปรุงเนื้อหาให้ครบถ้วน สมบูรณ์ ทันสมัยตลอดเวลาเพื่อให้ผู้นำไปใช้มีความเข้าใจตรงกัน และสะดวกรวดเร็วในการเปิดใช้
5. การเข้าถึงความรู้ (Knowledge Access) เป็นการอำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้ความรู้สามารถเข้าถึงได้ง่ายและสะดวก อาจมี 2 ลักษณะคือ (1) การป้อนความรู้ (Push) เป็นการส่งข้อมูลความรู้ไปให้ผู้รับโดยไม่ได้ร้องขอหรือต้องการ เช่นหนังสือเวียน (2) การให้โอกาสเลือกใช้ความรู้ (Pull) คือการที่ผู้รับสามารถเลือกใช้ความรู้ได้เฉพาะข้อมูลหรือความรู้ที่ต้องการเท่านั้น
6. การแบ่งปันและแลกเปลี่ยนความรู้ (Knowledge Sharing) ทำได้หลายวิธีการ โดยกรณีเป็น Explicit Knowledge อาจจัดทำเป็น เอกสาร  ฐานความรู้  เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือกรณีเป็น Tacit Knowledge อาจจัดทำเป็นระบบ ทีมข้ามสายงาน, กิจกรรมกลุ่ม คุณภาพและนวัตกรรม  ชุมชนแห่งการเรียนรู้ ระบบพี่เลี้ยงการสับเปลี่ยนงาน  การยืมตัว  เวทีแลกเปลี่ยนความรู้ เป็นต้น
7. การเรียนรู้ (Learning) ควรทำให้การเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งของงาน เช่นเกิดระบบการเรียนรู้จาก สร้างองค์ความรู้> นำความรู้ไปใช้> เกิดการเรียนรู้และประสบการณ์ใหม่ และหมุนเวียนต่อไปอย่างต่อเนื่อง



ภาพ  1 การจัดการความรู้ในองค์กร (Organization Knowledg Mangement)



ขั้นตอนการดำเนินงาน

  การค้นหาความรู้

            คณะพยาบาลศาสตร์ ได้ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการความรู้ (KM) มาอย่างต่อเนื่อง โดยได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารจัดการความรู้ เพื่อทำหน้าที่พัฒนากระบวนการจัดการความรู้ในองค์กรให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งคณะกรรมการ ฯ ได้มีการประชุม ฯ เมื่อวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2560 เพื่อทำความเข้าใจแนวทางในการพัฒนาองค์ความรู้ด้านการวิจัย และได้มีการจัดทำแผนการจัดการความรู้ (KM Action Plan) ภายใต้พื้นฐานความคิดที่ตกผลึกจากคณาจารย์ผู้มีประสบการณ์ในการสร้างสรรค์ผลงานวิชาการ



แผนการจัดการความรู้ขององค์กรด้านการวิจัย: การจำแนกองค์ความรู้ที่จำเป็นต่อการผลักดันตามประเด็นยุทธศาสตร์
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา  ประจำปีงบประมาณ 2560

ประเด็นยุทธศาสตร์
เป้าประสงค์
ตัวชี้วัด (KPI)
เป้าหมายของตัวชี้วัด
องค์ความรู้ที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงาน
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาคุณภาพการวิจัยและการบริการวิชาการ
กลยุทธ์ที่ 2.1  การส่งเสริมและผลักดันการดำเนินการวิจัย
กลยุทธ์ที่2 .2 การส่งเสริมและผลักดันผลงานวิจัย นวัตกรรม หรือผลงานในรูปแบบอื่นๆ ไปสู่การใช้ประโยชน์
เพื่อให้ได้องค์ความรู้ใหม่เกี่ยวกับการดำเนินการวิจัยและการนำไปใช้
จำนวนงานวิจัย
จำนวนงานวิจัยที่นำไปใช้ประโยชน์

ร้อยละของงานวิจัย
ร้อยละของงานวิจัยที่นำไปใช้ประโยชน์
-    Knowledge mapping ด้านการวิจัย
ของคณะฯ  เช่น เทคนิคการเขียนขอทุนวิจัยระดับชาติ   งานวิจัยชุดโครงการแบบบูรณาการ การเขียนบทความวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติและนานาชาติ 



แผนการจัดการความรู้ (KM Action Plan)
หน่วยงาน : คณะพยาบาลศาสตร์
:
คณะพยาบาลศาตร์
ประเด็นยุทธศาสตร์
:
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาคุณภาพการวิจัยและการบริการวิชาการ
องค์ความรู้ที่จำเป็น (KM)
:

ตัวชี้วัด (KPI)
:
จำนวนงานวิจัย
จำนวนงานวิจัยที่นำไปใช้ประโยชน์
เป้าหมายของตัวชี้วัด
:
ร้อยละของงานวิจัย
ร้อยละของงานวิจัยที่นำไปใช้ประโยชน์

ลำดับที่
กิจกรรมการจัดการความรู้
ระยะเวลา
ตัวชี้วัด
เป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมาย
ผู้รับผิดชอบ
สถานะ
1.
ค้นหาความรู้
- แต่งตั้งคณะกรรมการจัดการความรู้ KM ด้านการวิจัยของคณะฯ
 -ประชุมร่วมกัน เพื่อชี้แจงแนวทางการพัฒนาองค์ความรู้ของคณะฯด้านการการวิจัย
-วิเคราะห์ตนเองเกี่ยวกับองค์
1 สัปดาห์
ประเด็นความรู้ที่สามารถนำไปใช้ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการดำเนินการวิจัย
1 ประเด็น
อาจารย์ที่มีประสบการณ์ด้านการวิจัยอย่างต่อเนื่องมากกว่า 15 ปีขึ้นไป จำนวน 7-8 คน
(กรรมการKM ด้านการวิจัย)
คณะกรรมการจัดการความรู้ด้านการวิจัย



ลำดับที่
กิจกรรมการจัดการความรู้
ระยะเวลา
ตัวชี้วัด
เป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมาย
ผู้รับผิดชอบ
สถานะ

ความรู้ที่จำเป็นด้านการวิจัยและจัดทำ knowledge mapping  ของคณะฯด้านการวิจัย 






2.
สร้างและแสวงหาความรู้
-คณะกรรมการฯกำหนดเนื้อหาความรู้ที่คณะฯต้องการ
-คณะกรรมการ ฯ ประชุมร่วมกันแบบไม่เป็นทางการเดือนละ 2 ครั้ง ทุกวันอังคาร ครั้งละ 1 ชั่วโมงเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์การวิจัย โดยให้แต่ละคนแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ฯ คนละ 3 นาที
-จัดทำ Blog หน้า website ของคณะฯ เพื่อให้ผู้สนใจ
มีนาคม สิงหาคม 2560
ทุกวันอังคาร
เวลา 15.30 16.30 น.
แลกเปลี่ยนประสบการณ์การวิจัย คนละ 3 นาที
จำนวนครั้งในการแลกเปลี่ยนประเด็นความรู้ 8 10 ครั้ง
อาจารย์ที่มีประสบการณ์ด้านการวิจัยอย่างต่อเนื่องมากกว่า 15 ปีขึ้นไป
กรรมการKM ด้านการวิจัย



ลำดับที่
กิจกรรมการจัดการความรู้
ระยะเวลา
ตัวชี้วัด
เป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมาย
ผู้รับผิดชอบ
สถานะ

อื่น ๆ สามารถแสดงเรียนรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์เพิ่มเติมได้ 






3-4
สรุปประเด็นความรู้
- ในแต่ละครั้งมีการสรุปประเด็นหรือสาระที่มีการแลกเปลี่ยนไว้เป็นลายลักษณ์อักษร
 -รวบรวม วิเคราะห์ ประเด็นที่ได้
 -เรียบเรียงเนื้อหา และบันทึกอย่างเป็นระบบ
- คณะกรรมการ ฯ ร่วมกันสรุปประเด็น และจัดระบบความรู้ด้านการวิจัย
เดือนละครั้ง
ร่างสรุปประเด็นหรือสาระที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แต่ละครั้ง
4-5 ครั้งแรกของการประชุม
คณะกรรมการฯ




ลำดับที่
กิจกรรมการจัดการความรู้
ระยะเวลา
ตัวชี้วัด
เป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมาย
ผู้รับผิดชอบ
สถานะ
5.
-ประธานฯ และเลขาฯ จัดทำรายงานสรุปความรู้ด้านการวิจัยเสนอต่อคณะกรรมการบริหารคณะพยาบาลศาสตร์ เพื่อพิจารณากำหนดกลุ่มเป้าหมายที่จะนำองค์ความรู้ ไปทดลองใช้ เช่น
อาจารย์ใหม่ ที่ยังไม่มีประสบการณ์ในการสอนภาคปฏิบัติ หรืออาจารย์เก่า

-คณะกรรมการ KM ติดตาม/ประเมินผลการนำไปใช้ ในกลุ่มอาจารย์
-นำผลการประเมินหรือข้อเสนอแนะที่ได้มาปรับปรุงองค์ความรู้ที่ได้ให้สมบูรณ์
เดือนกรกฎาคม










ปีการศึกษา 2560
รายงานสรุปองค์ความรู้การสอนภาคปฏิบัติ









รายงานการประเมินผลการนำองค์ความรู้ไปใช้
รายงานการปรับปรุงหลังจากการนำไปทดลองใช้
ได้ประเด็นในการพัฒนา 3 ประเด็น










มีการนำเทคนิคฯ ไปใช้อย่างน้อย 1 รายวิชา/ภาคการศึกษา



คณะกรรมการฯ










อาจารย์ใหม่/อาจารย์เก่า/นิสิต





ลำดับที่
กิจกรรมการจัดการความรู้
ระยะเวลา
ตัวชี้วัด
เป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมาย
ผู้รับผิดชอบ
สถานะ
6.
คณะกรรมการ ฯ พัฒนาคู่มือและจัดทำเป็นรูปเล่มพร้อมเผยแพร่ในระบบสารสนเทศของคณะฯ จำนวน 2 เล่มดังนี้
1.    คู่มืออธิบายกระบวนการได้มาซึ่งองค์ความรู้ด้านการวิจัย
2.    คู่มือสรุปองค์ความรู้ด้านการวิจัย เรื่อง.(Best Practice)
ปีการศึกษา 2560
จำนวนคู่มือการพัฒนาองค์ความรู้
1 เรื่อง
คณะกรรมการ ฯ


7.
คณะกรรมการ KM ประเมินผลการนำองค์ความรู้ที่ได้ไปเพื่อพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
ปีการศึกษา 2560
จำนวนครั้งในการติดตาม
มีการประเมิน ฯ คู่มือ อย่างต่อเนื่อง
คณะกรรมการ ฯ




การสร้างและแสวงหาความรู้ (Knowledge Acquisition)

1. คณะกรรมการ ฯ ได้ระดมสมองในการจัดทำ Knowledge Mapping เกี่ยวกับงานวิจัยสำหรับคณาจารย์คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ได้เป็นองค์ความรู้หลัก  8  ประเด็นที่จำเป็น (ดังรายละเอียดในภาพที่ 2 ) ได้แก่
1)   จริยธรรมวิจัย (Research ethics)
2)   การบริหารจัดการโครงการขอทุน (เช่นกลยุทธ์ในการบริหารจัดการเวลา/กลยุทธ์การขอทุนเพื่อให้ได้งบประมาณสนับสนุน) (Research Program Management)
3)   การทำงานวิจัยที่บูรณาการจากหลายภาคส่วน/รวมทั้งการทำงานที่เป็นชุดโครงการ (Multidisciplinary team)
4)   การได้มาซึ่งหัวข้อวิจัยหรือหัวข้อโครงการวิจัย (Research Problem)
5)   การพัฒนาตนเองให้เป็นนักวิจัยในสายเลือด (DNA Researcher development)
6)   กระบวนการวิจัย (Research methodology)
7)   การเผยแพร่งานวิจัย (การตีพิมพ์, การนำเสนอ, การนำผลงานวิจัยไปใช้ ฯลฯ) (Publication)
8)   การทำวิจัย (Key success factor)



ผลการดำเนินการ Knowledge  Mapping




ภาพที่ 2 ความรู้หลักด้านการวิจัย (Core Knowledge of nursing Research BUU_NU )
 


2. คณะกรรมการ ฯ คัดเลือกประเด็น การพัฒนาตนเองให้เป็นนักวิจัยในสายเลือด (DNA Researcher Development) เป็นประเด็นความรู้ที่สำคัญขององค์กร ลำดับแรก โดยใช้รูปแบบในการสร้างและแสวงหาความรู้ (Knowledge Acquisition) ผ่านวิธีการถ่ายทอดองค์ความรู้และทักษะที่มีอยู่ในตัวบุคคลซึ่งเกิดจากประสบการณ์และการเรียนรู้ (Tacit Knowledge) คณะกรรมการ ฯ ได้ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตามแผนที่กำหนด จำนวน 5 ครั้ง ทุกหนึ่งถึงสองเดือน ถ่ายทอดประสบการณ์การวิจัย โดยใช้วิธีการ เล่าเรื่องโดยกำหนดให้กรรมการแต่ละท่านใช้เวลาประมาณ 3 - 5 นาที ต่อการเล่าเรื่องแต่ละครั้ง ซึ่งจะวนไปประมาณ 2 – 3 รอบ เพื่อสร้างบรรยากาศ และวัฒนธรรมที่ดีในการเรียนรู้ ในขั้นตอนนี้ จะไม่มีการอภิปราย และมีเจ้าหน้าที่จดบันทึกรายละเอียด และอำนวยความสะดวก  เมื่อสิ้นสุดการประชุม ฯ ในแต่ละครั้งประธานกรรมการ ฯ และเลขานุการ จะนำข้อมูลที่ได้บันทึกไว้ มาสรุปประเด็น และจัดเป็นหัวข้อ โดยมีรายละเอียดดังนี้






P- Personality
1.   มีนิสัยในการตั้งคำถาม (Questioning Mind )
2.   สร้าง Research Soul mate เชิงวิชาการ  
3.   มีความซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่น (ในกระบวนการการทำวิจัย ผู้ร่วมทีม และผู้อ่านงานวิจัย)  
4.   สร้างฉันทะในการทำวิจัย (มีความสุข ความพอใจที่จะทำวิจัยอย่างต่อเนื่อง) 
5.   สร้างฉันทะในการทำวิจัย (มีความสุข ความพอใจที่จะทำวิจัยอย่างต่อเนื่อง) 
6.   เป็นคนที่ช่างสังเกต
7.   เปิดใจที่จะเรียนรู้ ลดทิฐิ  มานะ   
8.   การเป็นนักอ่าน   
T- Logical Thinking
1.     ฝึกวิธีคิดแบบ "แทงตลอด" (understand thoroughly)  
2.     ทักษะการแก้ปัญหาชีวิตและงานตามบริบทต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น
3.     ต้องเป็นนักคิดนักวางแผนและบริหารเวลาตลอดเวลา
4.     Brain storm ตัวเองไว้ สิ่งที่เราต้องการคำตอบคืออะไร แล้วเราจะมาดูว่าถ้าเราทำอันนี้จะได้อะไร จะก่อให้เกิดผลอะไร กระตุ้นความคิดในกระบวนการทำวิจัยอย่างต่อเนื่อง  
5.     Roadmap  ของตนเองในการทำวิจัย  
6.     เลือกทำในสิ่งที่ตัวเองรัก เรื่องที่ตัวเองสนใจ มุ่งงานทุกขั้นตอน เพื่อเรียนรู้กระบวนการ (Process)   
V-View /Beliefs
1.   เชื่อมั่นในกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ (Beliefs in scientific method) 
2.   รู้จักสไตล์การทำงานของตัวเอง (รู้จักตัวตน ค้นพบตนเอง: self-awareness: working style)  
3.   เปิดใจรับข้อมูลข่าวสาร   
4.   มองโลกในแง่บวก
5.   มุ่งพัฒนาตนเอง ไม่มองเรื่องผลประโยชน์   



S- socialization
1.     หาตัวช่วยในการทำงานวิจัยในขั้นตอนต่างๆ
2.     เรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ติดตามข่าวสารและ update ข้อมูลในการทำวิจัย 
3.     มองหาประโยชน์ในการทำงานวิจัยต่อผู้อื่น (Fairness)  
4.     รู้จักบริหารโครงการ (management)   
5.     เปิดใจสร้างสัมพันธภาพ/เปิดใจเรียนรู้
6.     สร้างนักวิจัยรุ่นใหม่   
7.     การทำงานเป็นทีม (Teamwork)    
8.     สร้างทีมวิจัย/ทีมสห/เลือกคนเข้าร่วมทีมทำงานวิจัยโดยศึกษานิสัยที่แท้จริง :(Multidiscipline team)
9.     สั่งสมประสบการณ์  
10. การสร้างองค์กรให้เกิดบรรยากาศการทำงานวิจัย