วันจันทร์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2557

แนวทางการเตรียมความพร้อมในการเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต

แนวทางการเตรียมความพร้อมในการเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลักหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต

เพื่อให้การจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เป็นไปด้วยความเรียบร้อย จึงกำหนดให้มีแนวทางการเตรียมความพร้อมในการเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ดังนี้
            ๑.  อาจารย์ผู้ขอรับการเตรียมความพร้อมฯ เสนอโครงการเตรียมความพร้อมการเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก ตามแบบฟอร์มการเตรียมความพร้อมฯ (บว. ๐๑) ที่คณะพยาบาลศาสตร์กำหนด เสนอต่อคณบดีคณะพยาบาลศาสตร์ โดยผ่านประธานกรรมการบริหารหลักสูตรสาขาวิชานั้น ๆ
            ๒.  ประธานกรรมการบริหารหลักสูตรสาขาวิชา พิจารณามอบหมายอาจารย์พี่เลี้ยงจากอาจารย์ที่มีประสบการณ์การเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก (Major advisor) ที่มีนิสิตสำเร็จการศึกษาอย่างน้อย ๒ คน และสมัครใจเป็นอาจารย์พี่เลี้ยง (mentor) แก่อาจารย์ผู้ขอรับการเตรียมความพร้อมฯ
            ๓.  อาจารย์ผู้ขอรับการเตรียมความพร้อมฯ วางแผนพัฒนาประสบการณ์การเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก ร่วมกับอาจารย์พี่เลี้ยง
            ๔.  อาจารย์ผู้ขอรับการเตรียมความพร้อมฯ ให้คำปรึกษาในการทำวิทยานิพนธ์ของนิสิตในฐานะอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วมภายใต้การแนะนำของอาจารย์พี่เลี้ยง เป็นเวลาอย่างน้อย ๖ เดือน พร้อมทั้งบันทึกกิจกรรม และประสบการณ์ที่ได้รับจากการควบคุมวิทยานิพนธ์ (บว. ๐๒)
            ๕.  ในระหว่างการเตรียมความพร้อมในการเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก ให้อาจารย์ผู้ขอรับการเตรียมความพร้อมฯ เข้าร่วมสังเกตการสอบป้องกันเค้าโครงวิทยานิพนธ์ อย่างน้อย ๑ ครั้ง และการสอบป้องกันวิทยานิพนธ์ อย่างน้อย ๒ ครั้ง พร้อมทั้งบันทึกประสบการณ์ที่ได้รับจากการเข้าร่วมสังเกตการณ์การสอบป้องกันเค้าโครงวิทยานิพนธ์และการสอบป้องกันวิทยานิพนธ์ และข้อเสนอแนะฯ ตามแบบฟอร์มบันทึกประสบการณ์ฯ   (บว. ๐๓) ที่คณะพยาบาลศาสตร์กำหนด โดยให้อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลักของนิสิตที่เข้าสอบ ลงนามรับรอง และเสนอต่ออาจารย์พี่ลี้ยง
            ๖.  อาจารย์พี่เลี้ยงประเมินผลการเตรียมความพร้อมฯ ตามแบบฟอร์มที่คณะฯ กำหนด (บว. ๐๔) และรายงานผลการเตรียมความพร้อมในการเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต พร้อมแนบรายงานบันทึกกิจกรรม และประสบการณ์ที่ได้รับจากการควบคุมวิทยานิพนธ์ (บว. ๐๒) และบันทึกประสบการณ์ฯ ที่ได้รับจากการเข้าร่วมสังเกตการณ์การสอบป้องกันเค้าโครงวิทยานิพนธ์และการสอบป้องกันวิทยานิพนธ์ และข้อเสนอแนะฯ (บว.๐๓) ต่อคณบดีคณะพยาบาลศาสตร์ เพื่อนำเสนอพิจารณารับรองให้เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต ต่อคณะกรรมการบริหารหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา คณะพยาบาลศาสตร์
          ๗.  กรณีที่ไม่เป็นไปตามประกาศนี้ ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา คณะพยาบาลศาสตร์


แนวทางการเตรียมความพร้อมในการเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลักหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ)

เพื่อให้การจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ)       คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เป็นไปด้วยความเรียบร้อย จึงกำหนดให้มีแนวทางการเตรียมความพร้อมในการเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ) คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ดังนี้
            ๑.  อาจารย์ผู้ขอรับการเตรียมความพร้อมฯ เสนอโครงการเตรียมความพร้อมการเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ) ตามแบบฟอร์มการเตรียมความพร้อมฯ (บว. ๐๑) ที่คณะพยาบาลศาสตร์กำหนด เสนอต่อคณบดีคณะพยาบาลศาสตร์ โดยผ่านประธานกรรมการบริหารหลักสูตรสาขาวิชานั้น ๆ
            ๒.  ประธานกรรมการบริหารหลักสูตรสาขาวิชา พิจารณามอบหมายอาจารย์พี่เลี้ยงจากอาจารย์ที่มีประสบการณ์การเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก (Major advisor) หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ) ที่มีนิสิตสำเร็จการศึกษาอย่างน้อย ๒ คน และสมัครใจเป็นอาจารย์พี่เลี้ยง (mentor) แก่อาจารย์ผู้ขอรับการเตรียมความพร้อมฯ
            ๓.  อาจารย์ผู้ขอรับการเตรียมความพร้อมฯ วางแผนพัฒนาประสบการณ์การเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก ร่วมกับอาจารย์พี่เลี้ยง
            ๔.  อาจารย์ผู้ขอรับการเตรียมความพร้อมฯ ให้คำปรึกษาในการทำวิทยานิพนธ์ของนิสิตในฐานะอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วมภายใต้การแนะนำของอาจารย์พี่เลี้ยง เป็นเวลาอย่างน้อย ๖ เดือน พร้อมทั้งบันทึกกิจกรรม และประสบการณ์ที่ได้รับจากการควบคุมวิทยานิพนธ์ (บว. ๐๒)
            ๕.  ในระหว่างการเตรียมความพร้อมในการเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก ให้อาจารย์ผู้ขอรับการเตรียมความพร้อมฯ เข้าร่วมสังเกตการสอบป้องกันเค้าโครงวิทยานิพนธ์ นิสิตหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ) อย่างน้อย ๑ ครั้ง และการสอบป้องกันวิทยานิพนธ์ นิสิตหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ) อย่างน้อย ๒ ครั้ง พร้อมทั้งบันทึกประสบการณ์ที่ได้รับจากการเข้าร่วมสังเกตการณ์การสอบ-ป้องกันเค้าโครงวิทยานิพนธ์และการสอบป้องกันวิทยานิพนธ์ และข้อเสนอแนะฯ ตามแบบฟอร์มบันทึกประสบการณ์(บว. ๐๓) ที่คณะพยาบาลศาสตร์กำหนด โดยให้อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลักของนิสิตหลักสูตรพยาบาลศาสตร-
มหาบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ) ที่เข้าสอบ ลงนามรับรอง และเสนอต่ออาจารย์พี่ลี้ยง
            ๖.  อาจารย์พี่เลี้ยงประเมินผลการเตรียมความพร้อมฯ ตามแบบฟอร์มที่คณะฯ กำหนด (บว. ๐๔) และรายงานผลการเตรียมความพร้อมในการเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก หลักสูตรพยาบาลศาสตร-มหาบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ) พร้อมแนบรายงานบันทึกกิจกรรม และประสบการณ์ที่ได้รับจากการควบคุมวิทยานิพนธ์ (บว. ๐๒) และบันทึกประสบการณ์ฯ ที่ได้รับจากการเข้าร่วมสังเกตการณ์การสอบป้องกันเค้าโครงวิทยานิพนธ์และการสอบป้องกันวิทยานิพนธ์ และข้อเสนอแนะฯ (บว.๐๓) ต่อคณบดีคณะพยาบาลศาสตร์ เพื่อนำเสนอพิจารณารับรองให้เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ) ต่อคณะกรรมการบริหารหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา คณะพยาบาลศาสตร์
          ๗.  กรณีที่ไม่เป็นไปตามประกาศนี้ ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา คณะพยาบาลศาสตร์

แนวทางการเตรียมความพร้อมในการเป็นอาจารย์ผู้สอน หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต

แนวทางการเตรียมความพร้อมในการเป็นอาจารย์ผู้สอน หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ)
เพื่อให้การจัดการเรียนการสอนหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ) คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เป็นไปด้วยความเรียบร้อย จึงกำหนดให้มีแนวทางการเตรียมความพร้อมในการเป็นอาจารย์ผู้สอนหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ) คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ดังนี้
            ๑.  ผู้ที่มีคุณสมบัติตามประกาศคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เรื่อง คุณสมบัติอาจารย์ผู้สอนหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ) เสนอโครงการเตรียมความพร้อมในการเป็นอาจารย์ผู้สอน ตามแบบฟอร์มการเตรียมความพร้อมฯ (บส. ๐๑) ที่คณะพยาบาลศาสตร์กำหนด ดังนี้
                   ๑.๑  การเตรียมความพร้อมในการเป็นอาจารย์ผู้สอนรายวิชาแกน อาจารย์ผู้ขอรับการเตรียมความพร้อมฯ เสนอโครงการเตรียมความพร้อมในการเป็นอาจารย์ผู้สอนรายวิชาแกนอย่างน้อย ๑ รายวิชาต่อคณบดีคณะพยาบาลศาสตร์ โดยผ่านประธานรายวิชาแกน
                   ๑.๒  สำหรับรายวิชาเฉพาะสาขา อาจารย์ผู้ขอรับการเตรียมความพร้อมฯ เสนอโครงการเตรียมความพร้อมในการเป็นอาจารย์ผู้สอนรายวิชาภาคทฤษฎี อย่างน้อย ๑ รายวิชา และรายวิชาภาคปฏิบัติ อย่างน้อย ๑ รายวิชาต่อคณบดีคณะพยาบาลศาสตร์ โดยผ่านประธานกรรมการบริหารหลักสูตรสาขาวิชานั้น ๆ
            ๒.  ประธานรายวิชาแกน (กรณีรายวิชาแกน) หรือ ประธานกรรมการบริหารหลักสูตรสาขาวิชา (กรณีรายวิชาเฉพาะสาขา) พิจารณามอบหมายอาจารย์พี่เลี้ยงจากอาจารย์ผู้สอนที่มีประสบการณ์การสอนในรายวิชาดังกล่าวมาไม่น้อยกว่า ๒ ปี และสมัครใจเป็นอาจารย์พี่เลี้ยง (mentor) แก่อาจารย์ผู้ขอรับการเตรียมความพร้อม
            ๓.  อาจารย์ผู้ขอรับการเตรียมความพร้อมฯ วางแผนพัฒนาความเชี่ยวชาญการสอนฯ ร่วมกับอาจารย์พี่เลี้ยง
            ๔.  อาจารย์ผู้ขอรับการเตรียมความพร้อมฯ สังเกตการสอนของอาจารย์พี่เลี้ยง และร่วมเป็นอาจารย์ผู้ช่วยสอน อย่างน้อย ๑ หน่วยกิต ในหัวข้อที่สนใจ พร้อมทั้งจัดทำรายงานบันทึกกิจกรรมการสอน (บส. ๐๒) และประเมินผลการเตรียมความพร้อมของตนเอง (บส. ๐๓) เสนอต่ออาจารย์พี่เลี้ยง
            ๕.  อาจารย์พี่เลี้ยงประเมินผลการเตรียมความพร้อมฯ (บส. ๐๔) และรายงานผลการเตรียมความพร้อมในการเป็นอาจารย์ผู้สอนหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต พร้อมแนบรายงานบันทึกกิจกรรมการสอน (บส. ๐๒) และประเมินผลการเตรียมความพร้อมของตนเอง (บส. ๐๓) ต่อคณบดีคณะพยาบาลศาสตร์ เพื่อนำเสนอพิจารณารับรองให้เป็นอาจารย์ผู้สอนหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต ต่อคณะกรรมการบริหารหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา คณะพยาบาลศาสตร์ 
          ๖.  กรณีที่ไม่เป็นไปตามประกาศนี้ ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา คณะพยาบาลศาสตร์



แนวทางการเตรียมความพร้อมในการเป็นอาจารย์ผู้สอนหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต 
เพื่อให้การจัดการเรียนการสอนหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เป็นไปด้วยความเรียบร้อย จึงกำหนดให้มีแนวทางการเตรียมความพร้อมในการเป็นอาจารย์ผู้สอนหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ดังนี้
            ๑.  ผู้ที่มีคุณสมบัติตามประกาศคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เรื่อง คุณสมบัติอาจารย์ผู้สอนหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต เสนอโครงการเตรียมความพร้อมในการเป็นอาจารย์ผู้สอน ตามแบบฟอร์มการเตรียมความพร้อมฯ (บส. ๐๑) ที่คณะพยาบาลศาสตร์กำหนด ดังนี้
                   ๑.๑  การเตรียมความพร้อมในการเป็นอาจารย์ผู้สอนรายวิชาแกน อาจารย์ผู้ขอรับการเตรียมความพร้อมฯ เสนอโครงการเตรียมความพร้อมในการเป็นอาจารย์ผู้สอนรายวิชาแกนอย่างน้อย ๑ รายวิชาต่อคณบดีคณะพยาบาลศาสตร์ โดยผ่านประธานรายวิชาแกน
                   ๑.๒  สำหรับรายวิชาเฉพาะสาขา  อาจารย์ผู้ขอรับการเตรียมความพร้อมฯ เสนอโครงการเตรียมความพร้อมในการเป็นอาจารย์ผู้สอนรายวิชาภาคทฤษฎี อย่างน้อย ๑ รายวิชา และรายวิชาภาคปฏิบัติ อย่างน้อย ๑ รายวิชาต่อคณบดีคณะพยาบาลศาสตร์ โดยผ่านประธานกรรมการบริหารหลักสูตรสาขาวิชานั้น ๆ
            ๒.  ประธานรายวิชาแกน (กรณีรายวิชาแกน) หรือ ประธานกรรมการบริหารหลักสูตรสาขาวิชา (กรณีรายวิชาเฉพาะสาขา) พิจารณามอบหมายอาจารย์พี่เลี้ยงจากอาจารย์ผู้สอนที่มีประสบการณ์การสอนในรายวิชาดังกล่าวมาไม่น้อยกว่า ๒ ปี และสมัครใจเป็นอาจารย์พี่เลี้ยง (mentor) แก่อาจารย์ผู้ขอรับการเตรียมความพร้อม
            ๓.  อาจารย์ผู้ขอรับการเตรียมความพร้อมฯ วางแผนพัฒนาความเชี่ยวชาญการสอนฯ ร่วมกับอาจารย์พี่เลี้ยง
            ๔.  อาจารย์ผู้ขอรับการเตรียมความพร้อมฯ สังเกตการสอนของอาจารย์พี่เลี้ยง และร่วมเป็นอาจารย์ผู้ช่วยสอน อย่างน้อย ๑ หน่วยกิต ในหัวข้อที่สนใจ พร้อมทั้งจัดทำรายงานบันทึกกิจกรรมการสอน (บส. ๐๒) และประเมินผลการเตรียมความพร้อมของตนเอง (บส. ๐๓) เสนอต่ออาจารย์พี่เลี้ยง
            ๕.  อาจารย์พี่เลี้ยงประเมินผลการเตรียมความพร้อมฯ (บส. ๐๔) และรายงานผลการเตรียมความพร้อมในการเป็นอาจารย์ผู้สอนหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต พร้อมแนบรายงานบันทึกกิจกรรมการสอน (บส. ๐๒) และประเมินผลการเตรียมความพร้อมของตนเอง (บส. ๐๓) ต่อคณบดีคณะพยาบาลศาสตร์ เพื่อนำเสนอพิจารณารับรองให้เป็นอาจารย์ผู้สอนหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต ต่อคณะกรรมการบริหาร-หลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา คณะพยาบาลศาสตร์
            ๖.  กรณีที่ไม่เป็นไปตามประกาศนี้ ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา คณะพยาบาลศาสตร์